วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันสำคัญของไทย

วันสำคัญ เดือนมกราคม
วันที่ 1 มกราคม : วันขึ้นปีใหม่
วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม : วันเด็กแห่งชาติ
วันที่ 13 มกราคม : วันการบินแห่งชาติ
วันที่ 14 มกราคม : วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
วันที่ 16 มกราคม : วันครู
วันที่ 17 มกราคม : วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
วันที่ 17 มกราคม : วันโคนมแห่งชาติ
วันที่ 25 มกราคม : วันกองทัพไทย

วันสำคัญ เดือนกุมภาพันธ์
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ : วันนักประดิษฐ์
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ : วันทหารผ่านศึก
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ : วันอาสารักษาดินแดน
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ : วันศิลปินแห่งชาติ
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ : วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ : วันสหกรณ์แห่งชาติ
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 : วันมาฆบูชา

วันสำคัญ เดือนมีนาคม
วันที่ 5 มีนาคม : วันนักข่าว/วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ
วันที่ 8 มีนาคม : วันสตรีสากล
วันที่ 13 มีนาคม : วันช้างไทย
วันที่ 20 มีนาคม : วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ
วันที่ 22 มีนาคม : วันน้ำของโลก
วันที่ 27 มีนาคม : วันกองทัพอากาศ

วันสำคัญ เดือนเมษายน
วันที่ 1 เมษายน : วันออมสิน
วันที่ 1 เมษายน : วันข้าราชการพลเรือน
วันที่ 2 เมษายน : วันอนุรักษ์มรดกไทย
วันที่ 6 เมษายน : วันจักรี
วันที่ 13 14 15 เมษายน : วันสงกรานต์
วันที่ 13 เมษายน : วันผู้สูงอายุ
วันที่ 13 เมษายน : วันประมงแห่งชาติ
วันที่ 14 เมษายน : วันครอบครัว
วันที่ 22 เมษายน : วันคุ้มครองโลก
วันที่ 24 เมษายน : วันเทศบาล

วันสำคัญ เดือนพฤษภาคม
วันที่ 1 พฤษภาคม : วันแรงงานแห่งชาติ/วันกรรมกรสากล
วันที่ 5 พฤษภาคม : วันฉัตรมงคล
ข้างขึ้น เดือน 6 : วันพืชมงคล
ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 : วันวิสาขบูชา
ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 : วันต้นไม้แห่งชาติ
วันที่ 31 พฤษภาคม : วันงดสูบบุหรี่โลก

วันสำคัญ เดือนมิถุนายน
วันที่ 5 มิถุนายน : วันสิ่งแวดล้อมโลก
วันที่ 9 มิถุนายน : วันอานันทมหิดล
วันที่ 24 มิถุนายน : วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
วันที่ 26 มิถุนายน : วันสุนทรภู่
วันที่ 26 มิถุนายน : วันต่อต้านยาเสพติด

วันสำคัญ เดือนกรกฎาคม
วันที่ 1 กรกฎาคม : วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 : วันอาสาฬหบูชา
แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 : วันเข้าพรรษา
วันที่ 29 กรกฎาคม : วันภาษาไทยแห่งชาติ

วันสำคัญ เดือนสิงหาคม
วันที่ 4 สิงหาคม : วันสื่อสารแห่งชาติ
วันที่ 7 สิงหาคม : วันรพี
วันที่ 12 สิงหาคม : วันแม่แห่งชาติ
วันที่ 12 สิงหาคม : วันฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
วันที่ 18 สิงหาคม : วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

วันสำคัญ เดือนกันยายน
วันที่ 1 กันยายน : วันสืบ นาคะเสถียร
วันที่ 6 กันยายน : วันทรงดนตรี
วันที่ 15 กันยายน : วันศิลป์ พีระศรี
วันที่ 16 กันยายน : วันโอโซนโลก
วันที่ 20 กันยายน : วันเยาวชนแห่งชาติ
วันที่ 20 กันยายน : วันอนุรักษ์รักษาคูคลองแห่งชาติ
วันที่ 24 กันยายน : วันมหิดล

วันสำคัญ เดือนตุลาคม
แรม 15 ค่ำ เดือน 10 : วันสารทไทย
ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 : วันออกพรรษา
วันที่ 13 ตุลาคม : วันตำรวจ
วันที่ 14 ตุลาคม : วันประชาธิปไตย
วันที่ 19 ตุลาคม : วันเทคโนโลยีของไทย
วันที่ 21 ตุลาคม : วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ
วันที่ 21 ตุลาคม : วันพยาบาลแห่งชาติ
วันที่ 21 ตุลาคม : วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
วันที่ 21 ตุลาคม : วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ
วันที่ 23 ตุลาคม : วันปิยะมหาราช
วันที่ 24 ตุลาคม : วันสหประชาชาติ
วันที่ 31 ตุลาคม : วันออมแห่งชาติ
วันที่ 31 ตุลาคม : วันฮาโลวีน/Halloween

วันสำคัญ เดือนพฤศจิกายน
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 : วันลอยกระทง
เสาร์สัปดาห์ที่ 2 เดือนพฤศจิกายน : วันคนพิการ
14 พฤศจิกายน : วันบิดาแห่งฝนหลวง
20 พฤศจิกายน : วันกองทัพเรือ
25 พฤษจิกายน : วันวชิราวุธ - วันประถมศึกษา
27 พฤศจิกายน : วันสาธารณสุขแห่งชาติ

วันสำคัญ เดือนธันวาคม
1 ธันวาคม : วันต้านเอดส์โลก วันเอดส์โลก
4 ธันวาคม : วันสิ่งแวดล้อมไทย
5 ธันวาคม : วันพ่อแห่งชาติ
5 ธันวาคม : วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
10 ธันวาคม : วันรัฐธรรมนูญ
16 ธันวาคม : วันกีฬาแห่งชาติ
25 ธันวาคม : วันคริสต์มาส (Merry Christmas)
26 ธันวาคม : วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
28 ธันวาคม : วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=109&post_id=33706

สมุนไพร

พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด
ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด

ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"

บทความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ
จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคลรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย..


http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_200.htm

การป้องกันโรค

โรครวมถึงการประเมินและการรักษาเฉพาะ เพื่อจัดความก้าวหน้าของโรคในทุกระยะ (Edelman Mandle. 1994 : 15)
การป้องกันโรคแบ่งได้เป็น 3 ดับ ดังนี้
1. การป้องกันโรคระดับแรก (Primary prevention) หมายถึง การส่งเสริมสุขภาพโดยทั่วไปรวมถึงการปกป้องและต่อต้านการเกิดเฉพาะโรค ได้แก่ การให้สุขศึกษา การรับประทานอาหารเหมาะสมตามวัย การพัฒนาบุคลิกภาพ การทำงาน การพักผ่อน และนันทนาการอย่างเหมาะสม การได้รับคำปรึกษากับการแต่งงานและเรื่องเพศ การคัดกรองพันธุกรรม การตรวจสุขภาพ
2. การป้องกันโรคระดับที่สอง (Secondary prevention) หมายถึง การได้รับการวินิจฉัยในระยะแรกของโรคแปละได้รับการรักษาทันท่วงที ความรุนแรงของโรคที่เป็นมีระยะเวลาสั้นสามารถกลับสู่สภาวะของการมีสุขภาพดีได้อย่างรวดเร็ว
3. การป้องกันโรคระดับที่สาม (Tertiary pervention) เป็นระดับที่ไม่เพียงแต่หยุดการดำเนินของโรคเท่านั้น แต่จะต้องป้องกันความเสื่อมสมรรถภาพอย่างสมบูรณ์ จุดประสงค์ก็คือให้กลับสู่สังคมได้อย่างมีคุณค่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันโรคเป็นอย่างยิ่ง โดยใน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ จำนวน 500,000 บาท เพื่อใช้สร้างอาคาร “มหิดลวงศานุสรณ์” (ภาพประกอบ 3.2) ในบริเวณสถานเสาวภา สำหรับใช้ในกิจการทางด้านวิทยาศาสตร์และผิตวัคซีน บี ซี จี เพื่อปป้องกันวัณโรค ซึ่งผู้คนขณะนั้นประสบปัญหาจากวัณโรคอย่างร้ายแรง
เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคมากยิ่งขึ้น จึงขอกล่าวถึงรายละเอียดของวัณโรค ดังนี้
วัณโรค (Tuberculosis)
วัณโรคเป็นโรคติดต่อ ที่ยังเป็นปัญหาของประเทศไทยเรา และประเทศด้อวยพัฒนาอีกหลายประเทศ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมียารักษาที่มีประสิทธิภาพสูงก็ตาม แต่เมื่ออัตราการเป็นเอดส์ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ก็ย่อมทำให้อัตราการเป็นวัณโรคเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากผู้ป่วยเอดส์มีความบกพร่องของภูมิคุ้มกันจึงติดเชื้อโรคได้ง่ายและขณะนี้กำลังมีการแพร่ระบาดของเชื้อวัณโรคที่มีความต้านทานต่อยาสูง ซึ่งมักเกิดร่วมกับการติดเชื้อโรคเอดส์
สาเหตุ
วัณโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Tubercle bacilli ซึ่งประกอบด้วย Mycobacterium Tuberculosis, Mycobacterium Bovis, Mycobacterium Africanum ที่ทำให้เกิดโรคในคนเกือบทั้งหมด คือ Mycobaterium Tuberculosis
เชื้อวัณโรคสามารถล่องลอยอยูในอากาศได้เป็นเวลานาน ในบริเวณชื้น อับแสง เชื้อจะมีชีวิตอยู่ได้เป็นเดือน แต่ถ้าถูกแสดงแดดโดยตรง เชื้อจะตายภายใน 2 – 3 ชั่วโมง และสามารถใช้แอลกอฮอล์ 70% ฆ่าเชื้อโรคได้ภายใน 10 นาที
วิธีการติดต่อ
การติดต่อได้ง่ายที่สุดและพบได้บ่อย คือ การติดต่อโดยทางเดินหายใจ เมื่อผู้ป่วยไอจามหรือหัวเราะ จะปล่อยเชื้อออกมาล่องลอยในอากาศกับฝอยน้ำลาย เมื่อมีผู้สูดหายใจเข้าไปในถุงลมจะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบขึ้น ส่วนการติดต่อทางการรับประทาน ทางบาดแผล และทางอวัยวะสืบพันธุ์พบน้อยมาก แหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญคือ ผู้ป่วยวัณโรคที่ตรวจพบเชื้อในเสมหะ
อาการและอาการแสดง
ก. อาการและอาการแสดงทั่วไปที่พบบ่อย
ผู้ป่วยอาจมีไข้สูงหรือต่ำก็ได้ และอาจเป็นตลอดวันหรือไข้ตอนกลางคืน อาการไข้มักจะเป็นเกินสองสัปดาห์ มักมีอาการไอร่วมด้วย หรือบางครั้งอาจไม่มีไอ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ซูบซีด ซึ่งมักพบในรายที่โรคเป็นระยะลุกลาม
ข. อาการเฉพาะระบบ
อาการที่เกิดขึ้นแล้วแต่จะเกิดกับระบบใดของร่างกาย ได้แก่ เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง ทางเดินปัสสาวะ กระดูกและข้อ เยื่อหุ้มสมอง ระบบทางเดินอาหาร
สำหรับวัณโรคปอดซึ่งพบบ่อย อาการที่พบ คือ ไอเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์ 50-70 % มีไอเป็นเลือด ในรายที่เลือดออกมาก ๆ เกิดจากการแตกของหลอดเลือดแดง ที่อยู่บนผนังโพรงแผล ถ้าเยื้อหุ้มปอดอักเสบมักจะมีอาการเจ็บหน้าอก หรือถ้าเกิดน้ำที่ช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีอาการแน่นหน้าอก
วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง มีอาการปวดศรีษะ อาเจียน ตึงต้นคอ
วัณโรคกระดูกสันหลัง มีอาการปวดกระดูก ปวดหลัง เป็นมากในเวลากลางคืน
วัณโรคระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน ซึ่งมักพบรอยโรคในปอดด้วย
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรค อาศัยลักษณะหลายอย่างประกอบด้วย ดังนี้
ลักษณะทางคลินิก
การตรวจเสมหะ
การตรวจโดยการเอ็กซเรย์ทรวงอก
การทดสอบทูเบอร์คูลิน
การตรวจโดยวิธีอื่น ๆ เช่น การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิ การเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด และการตัดชิ้นเนื้อเยื่อหุ้มปอดตรวจ
การรักษา
หลักการรักษาที่สำคัญ มีดังนี้
ต้องได้รับประทานยาอย่าต่ำสองขนาน เพื่อป้องกันการดื้อยา
ต้องได้รับยาสม่ำเสมอ และนานพอ เพื่องป้องกันการกลับเป็นใหม่
รับประทานอาหารที่ดีมีคุณค่าแก่ร่างกาย ได้รับการพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
ปัจจุบันนี้มียาหลายขนาน ซึ่งจัดออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ คือ (มาลี เซ็นเสถียร. 2535 : 88)
ยาหลักในการรักษามี 6 ขนาน คือ ไอโซไนอะซิค (Isoniazid) ไรแอมพิซิน (Riampicin) สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) ไพราซินาไมต์ (Pyrazinamide) มีแธมบูทอล (Ethambutal) ธัยอะเซทาโซน (Thiacetazone)
ยาสำรอง ใช้ในกรณีเชื้อดื้อยาหลัก ได้แก่ คานามัยซิน (Kanamycin) เอทธิโอนาไมด์ (Ethionamide) ไซโคลซีริน (Cycloserine)
การป้องกัน
ถึงแม้จะมียารักษาวัรโรคที่มีประสิทธิภาพก็ตามวัณโรคยังเป็นปัญหาสำคัญทางการสาธารณสุขของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และขณะนี้สามารถระบาดได้ในทุกสภาพภูมิประเทศทั่วโลก ไม่แต่เฉพาะที่ชื้น อับแสง และแออัดเท่านั้น
หลักการทั่วไปของการป้องกัน
ให้ภูมิคุ้มกัน โดยฉีดวัคซีน บี ซี จี (B C G = Bacillus Calmette - Gruerin) ควรฉีดตั้งแต่แรกเกิด ผู้ที่ได้รับวัคซีน จะมีความต้านทานโรคได้สูงกว่าคนที่ไม่ได้ฉีด ระยะเวลาคุ้มกันในร่างกายไม่แน่นอน จากการศึกษาพบหลังอายุ 10 ปี ภูมิคุ้มกันจะลดลงประมาณร้อยละ 50 ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีนซ้ำเมื่ออายุ 7 – 8 ปี
การให้ยาต้านวัณโรคในคนที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน เช่ย เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีผู้ป่วยวัณโรคระยะติดต่อ แพทย์ พยาบาล และบุคคลที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคระยะติดต่อ
โรคคอพอก (Endermic goiter)
โรคคอพอก เป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญยิ่งโรคหนึ่ง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการรณรงค์ควบคุมโรคคอพอกเนื่องจากการขาดไอโอดีน รวมทั้งได้มีการจัดตั้งระบบเฝ้าระวังโรคคอพอกตั้งแต่ พ.ศ. 2532 โดยใช้อัตราคอพอกในนักเรียนประถมการศึกษาเป็นดัชนีชี้วัด ผลจากการสำรวจอัตราโรคคอพอกพบว่า ในภาพรวมระดับประเทศอัตราโรคคอพอกมีร้อยละ 4.29 ใน พ.ศ. 2539 (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ม.ป.ป. : 73)
เส้นทางเกลือ
ในการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงพบว่าราษฎรแถบภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปัญหาการขาดสารไอโอดีนจนเกิดโรคคอพอก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรวงห่วงใยในปัญหาการขาดสารไอโอดีนเป็นอย่างมาก ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะกำจัดโรคนี้ให้หมดไปจากคนไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริว่า …ให้พิจารณาแก้ไขปัญหาของการขาดไอโอดีนของราษฎร โดยการสำรวจพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ถึงปัญหาและความต้องการไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะต้องสำรวจเส้นทางเกลือว่าผลิตมาจากแหล่งใด ก็น่าที่จะนำเอาไอโอดีนไปผสมกับแหล่งผลิตต้นทางเกลือเลยทีเดียว…”
วิธีการดำเนินการตามแนวพระราชดำริ “เส้นทางเกลือ” มีดังนี้
ศึกษาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสารไอโอดีน โดยการค้นหา “เส้นทางเกือ” ตั้งแต่แหล่งผลิต (ภาพประกอบ 3.3) จนถึงผู้บริโภค
นำไอโอดีนไปผสมที่แหล่งผลิตหรือแหล่งจัดจำหน่าย โดยเติมให้ฟรีก่อน หากภายหลังพ่อค้าและภาคเอกชนเกิดศรัทธาก็สามารถทำเองได้
ในบางท้องที่ที่ไม่อาจเติมไอโอดีนที่แหล่งผลิตได้ ทรงแนะนำให้นำเครื่องผสมเกลือไอโอดีน (ภาพประกอบ 3.4) ไปบริการในลักษณะหน่วยบริการเคลื่อนที่เข้าไปสู่หมู่บ้านต่าง ๆ ใครมีเกลืออยู่แล้วก็ผสมให้ฟรี หรืออาจเอาเกลือธรรมดากับเกลือผสมไอโอดีนก็ได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้ใช้อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอำเภอต้นแบบในการศึกษาแก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีนว่ามี “เส้นทางเกลือ” มาจากแหล่งใด
กระทรวงสาธารณสุขได้ใช้กลยุทธหลักในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคคอพอก โดยวิธีให้ประชาชนได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอและต่อเนื่องจากเกลือไอโอดีน โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ 153/2537 กำหนดให้เกลือบริโภคทุกชนิดต้องมีไอโอดีนไม่น้อยกว่า 30 ส่วนในเกลือ 1 ล้านส่วน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่กันยายน พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นกลยุทธที่สอดคล้องกับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในวันที่ 1 เมษายน 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เพื่อพระราชทานวโรกาสให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและเลขาธิการสภากาชาดไทยนำผู้ค้าเกลือและผู้มีจิตศรัทธาเข้าน้อมเกล้า ฯ ถวายเกลือเสริมไอโอดีน 2,419 ตัน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วประเทศ
เพื่อให้เข้าใจถึงการขาดสารไอโอดีน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอกที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากร จึงขอกล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของโรคคอพอก ดังนี้
สาเหตุ
โรคคอพอก เป็นโรคที่ต่อมธัยรอยด์ที่คอโตผิดปกติ เกิดจากการขาดไอโอดีน ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนไธร้อกซิน (thyroxin) ของต่อมธัยรอยด์ (Thyroid) ในภาวะที่มีการขาดไอโอดีนการสร้างไธร้อกซินจะลดลงเป็นผลให้ต่อมพิทูอิทารี (Prtuitary gland) ในสมองหลั่ง ธัยรอยด์ สติมูเลติง ฮอร์โมน (Thyroid stimulating hormone : TSH) มากขึ้น พร้อมกันนี้นก็มีการเพิ่มจำนวนเซลล์ เพื่อขยายขนาดของต่อมธัยรอยด์ให้เพิ่มความสามารถในการจับไอโอดีน จึงทำให้เป็นคอพอก
อาการและอาการแสดง
ต่อมธัยรอยด์ ซึ่งอยู่สองข้างของของหลอดลมมีขนาดโตขึ้น ในบางรายที่ต่อมโตมากจะทำให้กลืนอาหารและหายใจลำบาก
ในชุมชนที่มีการระบาดของโรคคอพอกสูงจะพบว่ามีอุบัติการณ์ของการเป็นใบ้หูหนวกแต่กำเนิด (Deaf – mutism) ร่างกายเตี้ยแคระและปัญญาอ่อน (Cretinism) ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “โรคเอ๋อ” ในอัตราที่สูงกว่าปกติ
สำหรับอาการแสดงของคอพอกแบ่งออกได้เป็นระดับตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโรค WHO ดังนี้
ระดับ ลักษณะ
0 ต่อมธัยรอยด์ปกติซึ่งจะมองไม่เห็นและถ้าคลำดู 2 ข้างหลอดลมจะมีขนาดไม่เกินนิ้วหัวแม่มือของเจ้าของ เมื่อเงยศรีษะขึ้นมองไม่เห็นว่ามีก้อนโตอยู่หน้าลำคอ
1 ต่อมธัยรอยด์มีขนาดโตคลำพบว่าใหญ่เกินนิ้วหัวแม่มือเมื่อเงยศรีษะไปด้านหลังเต็มที่จะเห็นว่าต่อมมีขนาดโตได้ชัดเจน
2 ต่อมธัยรอยด์โตจนสามารถมองเห็นได้แมื่อยู่ในทาปกติ และไม่จำเป็นต้องอาศัยการคลำ
3 ต่อมธัยรอยด์มีขนาดโตมากจนมองเห็นได้ตั้งแต่ในระยะไกล

การรักษา
โดยการให้เกลือไอโอดีนปรุงอาหาร ถ้าคอพอกโตมากอาจต้องใช้ยาหรือผ่าตัดออก หรือในรายคอพอกโตไปเบียดและกดหลอดลม หลอดอาหาร ทำให้กลืนลำบากหายใจไม่สะดวกก็ต้องรักษาโดยการผ่าตัด
การป้องกัน
วิธีการที่ใช้ในการป้องกันโรคคอพอกโดยการเพิ่มปริมาณไอโอดีนในอาหารให้เท่ากับระดับความต้องการของร่างกาย คือ 100 – 150 ไมโครกรัม ต่อวันสำหรับผู้ใหญ่การป้องกันที่ได้ผลดี มีดังนี้ คือ
การเติมเกลือไอโอไดด์ ไอโอเดตลงในเกลือแกงที่เรียกว่า เกลือไอโอดีน หรือ เกลืออนามัย ซึ่งมีแพร่หลายทั่วไปในปัจจุบัน (ภาพประกอบ 3.5)
การรับประทานยาเม็ดที่มีโปแทสเซียมไอโอไดด์ 10 มิลลิกรัม เป็นระยะ ๆ สม่ำเสมอ
การรับประทานอาหารทะเล
การป้องกันที่สำคัญอีกทางหนึ่งก็คือให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ได้รับไอโอดีนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพื่อป้องกันการคลอดลูกที่เป็นครีตีนนิสซึม (Cretinism) หรือโรคเอ๋อ
โรคเรื้อน (Leprosy)
โรคเรื้อนเป็นโรคติดต่อที่เก่าแก่ ดังจะเห็นที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์ทั้งของชาติและศาสนาต่าง ๆ ในสมัยโบราณ ผู้ป่วยโรคเรื้อนจะถูกแยกออกจากสังคม เพราะเป็นโรคติดต่อที่น่ารังเกียจ เนื่องจากบาดแผลและความพิการ
สถาบันราชประชาสมาสัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อน เมื่อ พ.ศ. 2499 โรคเรื้อนได้ระบาดในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกได้ตกลงร่วมกันว่าจะพยายามขจัดโรคเรื้อนให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทยในระยะเวลา 12 ปี และเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขได้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่าจะกำจัดโรคเรื้อนให้หมดไปภายในระยะเวลา 10 ปีได้ ถ้ามีสถาบันค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับโรคเรื้อนซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์ 1 ล้านบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ก่อสร้างสถาบันวิจัยค้นคว้าเรื่องโรคเรื้อน ณ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในพ.ศ. 2501 และได้เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่16 มกราคม 2503 พระราชทานนามสถาบันว่า “ราชประชาสมาสัย” รวมทั้งพระราชทานเงินทุนที่เหลือจากการก่อสร้างให้กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของสถาบันต่อไป
โรคเรื้อนเป็นโรคที่รักษาหายขาดได้ แต่เป็นโรคที่มีการทำลายเส้นประสาทส่วนปลายร่วมด้วย จึงมีผลทำให้เกิดความพิการติดตามมา ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของบุคคลที่เป็นโรคเรื้อนอย่างยิ่ง เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเรื้อนให้ดียิ่งขึ้นจึงขอกล่าวถึงรายละเอียด ดังนี้
สาเหตุ
ในปี พ.ศ. 2416 นายแพทย์ จี. เอช. อามัวร์ เฮนเซน (G.H. Amaer Hansen) เป็นผู้ค้นพบว่า โรคเรื้อนเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อ ไมโคแบคทีเรียม เลพแพร (Mycobacterium leprae)
การติดต่อ
โรคเรื้อนสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ โดยเชื้อโรคเรื้อนจากร่างกายของผู้ป่วยจะเข้าสู่ร่างกายของผู้รับได้สองทางคือ
1. ทางผิวหนัง
2. ทางระบบทางเดินหายใจ
ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเรื้อนมากที่สุด ได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่โรคเรื้อนเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic area) และผู้ที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยโรคเรื้อนชนิดเชื้อมากหรือผู้ที่สัมผัสโรคกับผู้ป่วยหลายราย โดยการสัมผัสนั้นเป็นอย่างใกล้ชิดและเป็นเวลานาน ทั้งนี้ผู้ป่วยรายใดก็ตามที่ยังตรวจพบเชื้อโรคเรื้อนที่มีชีวิตก็สามารถแพร่เชื้อได้
การวินัจฉัยโรค
ในการวินัจฉัยว่าผู้ใดเป็นโรคเรื้อนหรือไม่นั้น องค์การอนามัยโลก ได้กล่าวถึงอาการสำคัญที่แสดงว่าผู้นั้นเป็นโรคเรื้อนโดยดูจากหนึ่งในสองอาการต่อไปนี้
มีรอยโรคอันเป็นลักษณะของโรคเรื้อนอยู่บนผิวหนัง และชาบริเวณรอยโรคนั้น
ตรวจพบเชื้อโรคเรื้อนจากผิวหนัง
อาการและอาการแสดง
อาการทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอาการดังนี้
อาการทางผิวหนัง ผิวหนังจะเป็นวงด่างสีขาวหรือวงด่างสีแดง ผิวหนังนูนแดงหนา
อาการทางประสาท อาการที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับเส้นประสาทส่วนใดของเส้นประสาทส่วนปลาย (Pheripheral nerve) ถูกทำลาย เช่น
เส้นประสาทรับความรู้สึก (Sensory nerve) ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะมีอาการช้าไม่รู้สึกร้อนเย็น
เส้นประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อ (Motor nerve) ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะมีอาการของกล้ามเนื้ออ่อนกำลัง กล้ามเนื้อสั่น โดยเฉพาะบริเวณมือ ซึ่งต่อไปจะเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อนิ้วมือ จะงอหยิกจีบ หรือทำไม่ได้ ข้อมือตก เดินเท้าตกและเป็นอัมพาตของใบหน้า
เส้นประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervce) ถูกทำลาย มีอาการผิวหนังแห้ง เหงื่อไม่ออก ขนร่วง เส้นเลือดตีบ ทำให้ผิวหนังขาดเลือดไปเลี้ยง ผิวหนังตามปลายเท้าแห้งด้านแข็ง เป็นแผลเนื้อตายได้
นอกจากนี้เมื่อเส้นประสาทที่ถูกทำลายโดยการอักเสบ ภายหลังจะมีเยื่อพังผืดมาแทนที่ทำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้นจนสามารถคลำได้
3. อาการของระบบทางเดินหายใจส่วนบน โดยมีอาการเยื่อบุจมูกบวม อักเสบ ทำให้คัดจมูก มีแผลในจมูก ในที่สุดทำให้ดั้งจมูกยุบ ถ้าไม่ได้รับการรักษาาจะทำให้หายใจลำบากและเสียงแหบได้
อาการอื่น ๆ
อาการอื่น ๆ ที่พบได้ มีดังนี้
ต่อมน้ำเหลืองโตคลำได้
ขนคิ้วร่วงโดยเริ่มจากด้านข้างก่อน
โลหิตจาง ถ้าเชื้อลุกลามไปถึงไขกระดูก
อัณฑะอักเสบ
หลับตาไม่ได้ ทำให้เกิดแผลที่ตาดำซึ่งทำให้ตาบอดได้
เยื่อบุช่องปากนูนหนาเป็นตุ่มบวม และแตกเป็นแผล
การรักษา
โรคเรื้อนเป็นโรคที่มีลักษณะอาการหลายกลุ่ม เพื่อประโยชน์ในการรักษา จึงแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
โรคเรื้อนประเภทเชื้อน้อย มักตรวจไม่พบเชื้อ การรักษาใช้การรักษาด้วยยา 2 ชนิด ได้แก่ ไรแพมพิซิน (Rifampicin) และแดปโซน (Dapsone) ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 6 เดือน
โรคเรื้อนประเภทเชื้อมาก มักตรวจพบเชื้อ การรักษาใช้การรักษาด้วยยา 3 ชนิด ได้แก่ ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) แดปโซน (Dapsone) และคลอฟาซิมิน (Clofazimine) ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 ปี
การป้องกัน
โดยการดำเนินการค้นหาผู้ป่วยและให้การรักษาโดยเร็วที่สุด และให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันความพิการ และการแพร่กระจายของเชื้อโรค


http://www.swu.ac.th/royal/book6/b6c3t2.html

มารยาทไทย

การแสดงความเคารพมีหลาย ลักษณะ เช่น การประนมมือ การไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ การถวายบังคม เป็นต้น การที่จะ แสดงความเคารพในลักษณะใดนั้น ต้องพิจารณาผู้ที่ จะรับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะเช่นใด หรือในโอกาสใด แล้วจึงแสดงความเคารพให้ถูก ต้องและเหมาะสมการแสดงความเคารพแบ่งได้ดัง นี้คือ

1. การประนมมือ (อัญชลี) ประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบ ปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กาง ศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือ นี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟัง พระธรรมเทศนา และขณะพูดกับพระสงฆ์ซึ่งเป็น ที่เคารพนับถือ เป็นต้น

2. ไหว้ (วันทนา ) การไหว้เป็นการแสดงความเคารพโดยการประนม มือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้ การไหว้แบบ ไทยแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคล ดัง นี้

ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ การ ไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียวัตถุและปูชนีย สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่ สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้ปลาย นิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก

ชาย ยืน แล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้น ไหว้

หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดย ถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด พร้อมยกมือ ขึ้นไหว้

ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระ คุณและผู้มีอาวุโส ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ อย่างสูง โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่าง คิ้ว


ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับ การไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้

หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้

ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส รวมทั้ง ผู้ที่เสมอกันโดยประนมมือยกขึ้นให้ปลาย นิ้วจรดปลายจมูก

ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับ ยกมือขึ้นไหว้

หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ โดยถอย เท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย พร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้


ในการไหว้ผู้เสมอกันทั้งชาย และหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกัน หรือใน เวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ทำพร้อมกันเป็น หมู่คณะ ควรจะนัดหมายให้ทำอย่างเดียวกัน

การไหว้ตามมารยาทไทยเช่นนี้ ปฏิบัติให้เรียบ ร้อยนุ่มนวลด้วยความสำรวมจึงจะดูงาม

3. การกราบ (อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพด้วย วิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะ ลงจรดพื้นหรือจรดมือ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น เช่น กราบลงบน ตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ ถ้าหมอบแล้วน้อม ศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเรียกว่า หมอบกราบ การกราบมี 2 ลักษณะ คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และการกราบผู้ใหญ่

3.1 การกราบแบญ จางคประดิษฐ์ ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การ ที่ให้อวัยวะทั้ง 5 คือ เข่าทั้ง 2 มือทั้ง 2 และหน้าผากจรดพื้น การกราบจะมี 3 จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ


ท่าเตรียมกราบ

ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่ง บนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้ง สองข้าง (ท่าเทพบุตร)

หญิง นั่งคุกเข่าปลาย เท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบน หน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพธิดา)

จังหวะ ที่ 1 ( อัญชลี) ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วชิดกันตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก

จังหวะที่ 2 (วันนา) ยกมือขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้า ผาก

จังหวะที่ 3 (อภิวาท) ทอดมือลง กราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือคว่ำห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรด พื้นระหว่างมือได้

ชาย ให้กางศอกทั้งสอง ข้างลง ต่อจากเข่าขนานไปกับพื้น หลังไม่ โก่ง

หญิง ให้ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็ก น้อย

ทำสามจังหวะให้ครบสามครั้ง แล้วยก มือขึ้นจบโดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง การกราบไม่ควรให้ช้าหรือ เร็วเกินไป

3.2 การกราบผู้ใหญ่ ใช้ กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส รวมทั้งผู้มีพระ คุณได้แก่ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่เรา เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชาย และหญิงนั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลง พร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้าน ล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลงให้หน้า ผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบ ไม่ควรกระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นรับหน้าผาก

4. การคำนับ ให้ยืนตรง มือปล่อยไว้ข้างลำ ตัวค้อมศีรษะเล็กน้อย การคำนับนี้ส่วนมากเป็น การปฏิบัติของชาย แต่ให้ใช้ปฏิบัติได้ทั้งชาย และหญิงเมื่อแต่งเครื่องแบบและไม่ได้สวมหมวก


5. การแสดงความเคารพพระมหากษัตริย์

5.1 การ ถวายบังคม เป็นราชประเพณีถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ในงานพระราชพิธีสำคัญ

ก่อนที่จะถวาย บังคมต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมคือ นั่งคุกเข่าปลาย เท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้าเช่นเดียวกันทั้งชาย และหญิง มือทั้งสองวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสอง ข้าง ชายนั่งแยกเข่าได้เล็กน้อย หญิงนั่งเข่า ชิด


การถวายบังคมแบ่งออกเป็น 3 จังหวะ ดัง นี้

จังหวะที่ 1 ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก

จังหวะ ที่ 2 ยกมือที่ประนมขึ้น ให้ปลายนิ้วหัว แม่มือจรดหน้าผากเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย

จังหวะที่ 3 ลดมือกลับลงตามเดิมมาอยู่ ในจังหวะที่ 1

ทำให้ครบ 3 ครั้ง โดย จบลงอย่างจังหวะที่ 1 แล้วจึงลดมือลง วางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง

การถวายบังคม ดังกล่าวนี้ หญิงมีโอกาสใช้น้อย จะใช้ใน กรณีที่มีชายกับหญิงไปถวายบังคมร่วมกัน ถ้าหญิงล้วนให้ใช้วิธีหมอบกราบ

5.2 การหมอบกราบ ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลง มาถึงพระบรมวงศ์ ในโอกาสที่เข้าเฝ้า โดย นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าแล้วจึงหมอบลงให้ ศอกทั้งสองข้างถึงพื้นคร่อมเข่าอยู่ด้านล่าง เพียงเข่าเดียว มือประสาน เมื่อจะกราบให้ประนมมือ ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ ประนม เมื่อกราบแล้วนั่งในท่าหมอบเฝ้าอีกครั้ง หนึ่ง แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบตามเดิม


3. การถวายความเคารพแบบสากล ใช้กับ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์

ชาย ใช้วิธี การถวายคำนับ โดยค้อมตัวต่ำพอสมควร


หญิง ใช้วิธีการถวายความเคารพแบบย่อเข่า ( ถอนสายบัว) มี 2 แบบ คือ

แบบสากลนิยม ยืนตรง หันหน้าไปทางพระองค์ ท่าน วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังเล็ก น้อยตามถนัด พร้อมกับย่อตัวลง ลำตัวตรง หน้าตรง สายตาทอดลง ปล่อยแขนทั้งสองข้างแล้ว ยืนตรง

แบบพระราชนิยม ยืนตรง หัน หน้าไปทางพระองค์ท่าน วาดเท้าข้างใดข้าง หนึ่งไปข้างหลังเล็กน้อยตามถนัด พร้อมกับย่อ ตัวลง ขณะที่วาดเท้า ให้ยกมือทั้งสอง ข้างขึ้นวางประสานกันบนขาหน้าเหนือเข่า ค้อม ตัวเล็กน้อยทอดสายตาลง เสร็จแล้วยืนขึ้นใน ลักษณะเดิม





6. การแสดงความเคารพโดยทั่วไป

6.1 การแสดงความเคารพศพ จะต้องกราบพระพุทธ รูปเสียก่อนแล้วจึงไปทำความเคารพศพ ส่วน การจุดธูปหน้าศพนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของลูก หลานหรือศิษยานุศิษย์ หรือผู้เคารพนับถือ ที่ประสงค์จะบูชา

การเคารพศพพระ ถ้า เจ้าภาพจัดให้มีการจุดธูปให้จุด 3 ดอก ชายกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หญิงหมอบกราบแบบเบญจางค ประดิษฐ์ 3 ครั้ง

การเคารพศพคฤหัสถ์ ให้ทำ ความเคารพเช่นเดียวกับตอนที่ผู้ตายยังมี ชีวิตอยู่ ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอาวุโสมาก กราบ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นศพของผู้ที่มี อาวุโสใกล้เคียงกันกับผู้ที่ไปทำความเคารพ ให้ไหว้ในระดับที่ 3 (ไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป) ส่วนการเคารพศพเด็กนั้นเพียงยืนสงบ หรือนั่งสำรวมครู่หนึ่ง

ในกรณีที่ศพได้ รับพระราชทานเกียรติยศ ผู้เป็นประธานจุดธูป เทียนที่หน้าพระพุทธรูปและที่หน้าตู้พระ ธรรม แล้วไปจุดเครื่องทองน้อยที่หน้าศพเพื่อ แสดงว่าผู้วายชนม์บูชาพระธรรม แล้วจึงเคารพ ศพ

ส่วนผู้ไปในงาน กราบพระพุทธรูป ที่โต๊ะหมู่บูชาแล้วจึงเคารพศพด้วยการกราบ หรือคำนับ

6.2 การเคารพอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ อนุสาวรีย์ บุคคลสำคัญอาจเป็นรูปปั้น ภาพถ่าย ภาพวาด หรือ สัญลักษณ์อื่นก็ได้ ให้แสดงความเคารพด้วยการคำนับ หรือกราบ หรือไหว้แล้วแต่กรณี

ในโอกาสพิเศษ หรือเป็นพิธีการ เช่น เมื่อครบรอบวันเกิด หรือ วันสำคัญที่เกี่ยวข้องอันเป็นพิธีการให้ใช้ พุ่มดอกไม้ ถ้าครบรอบวันตายหรือแสดงความระลึก ถึงอันเป็นพิธีการให้วางพวงมาลา

ใน โอกาสอื่นๆ ที่ไม่เป็นพิธีการอาจแสดงความเคารพ โดยใช้หรือไม่ใช้เครื่องสักการะก็ได้

6.3 การแสดงความเคารพของผู้เป็นประธาน ณ ที่ บูชา เมื่อประธานในพิธีลุกจากที่นั่งเพื่อไป บูชาพระรัตนตรัย ผู้ร่วมพิธียืนขึ้น และเมื่อประธาน เริ่มจุดธูปเทียน ผู้ร่วมพิธีประนมมือเสมออก เมื่อประธานกราบผู้ร่วมพิธียกมือที่ประนมขึ้น ให้นิ้วชี้จรดหน้าผาก พร้อมทั้งก้มศีรษะเล็ก น้อย หากที่บูชามีธงชาติและพระบรมฉายา ลักษณ์ด้วย เมื่อประธานบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว ให้ยืน ขึ้นถอยหลัง 1 ก้าว ยืนตรง ค้อมศีรษะคารวะครั้ง เดียว ซึ่งถือว่าได้เคารพต่อธงชาติและพระ บรมฉายา-ลักษณ์ไปพร้อมกันแล้ว ให้ประธานปฏิบัติ เช่นเดียวกันนี้ทั้งชายและหญิงทั้งที่อยู่ ในและนอกเครื่องแบบ



เมื่อจบพิธีแล้วประธาน ควรกราบพระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชาอีกครั้ง หนึ่ง ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมยืนขึ้นด้วยอาการสำรวม แล้วจึงไหว้ลาพระรัตนตรัยเป็นอันเสร็จพิธี แต่ ในกรณีที่ยังมีกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ประธาน ทักทายสังสรรค์กับผู้เข้าร่วมประชุม หรือดื่มน้ำ ชา และประธานอยู่ร่วมกิจกรรมด้วย เมื่อประธานจะ กลับ ไม่จำเป็นต้องกราบพระรัตนตรัย

6.4 การแสดงความเคารพของผู้ที่แต่งเครื่องแบบ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันนั้น ๆ

7. การรับความเคารพ เมื่อผู้น้อยมาทำความเคารพ ควรรับ ความเคารพด้วยการประนมมือหรือค้อมศีรษะรับตาม ควรแก่กรณี



http://kanchanapisek.or.th/kp8/mthai/4_e.html

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การฟิตร่างกาย คุณต้องติดตามความก้าวหน้าของการออกกำลังกายเช่น เวลาที่ใช้ในการออกกำลังเพิ่มขึ้น ระยะทางในการออกกำลังเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นได้ดี รายละเอียดของการออกกำลังกายคลิกที่นี่

เทคนิคของการออกกำลังกายเป็นประจำ

จะต้องตระหนักว่าการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตซึ่งจะขาดไม่ได้เหมือนการนอนหลับ หรือการรับประทานอาหาร
เลือกการออกกำลังกายที่ชอบที่สุด และสะดวกที่สุด
ครอบครัวอาจจะมีส่วนร่วมด้วยก็จะดี
ช่วงแรกๆของการออกกำลังกายไม่ควรจะหยุด ให้ออกจนเป็นนิสัย
บันทึกการออกกกำลังกายไว้
หาเป็นไปได้ควรจะมีกลุ่มเพื่อออกกำลังกายร่วมกันเพราะกลุ่มจะช่วยกันประคับประคอง
ตั้งเป้าหมายการออกกำลังและการรับประทานทุกเดือนโดยอย่าตั้งเป้าหมายสูงเกินไป
ติดตามความก้าวหน้าโดยดูจากสมุดบันทึก
ให้รังวัลเมื่อสามารถบรรลุเป้าหมาย(ห้ามการเลี้ยงอาหาร)
ที่สำคัญการออกกำลังแม้เพียงเล็กน้อยดีกว่าการไม่ออกกำลังกาย
ออกกำลังกายอย่างปลอดภัย

ถ้าหากท่านได้เตรียมความพร้อมที่จะออกกำลังกายแล้วอยากจะฟิตร่างกายท่านสามารถทำได้ทันที แต่หากมีอาการหรือโรคต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฟิตร่างกาย

ถ้าท่านอายุมากกว่า 45ปี
หรือมีโรคประจำตัวเช่นโรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง
สูบบุหรี่
หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
มีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยมาก
มีอาการหน้ามืด
จำเป็นต้องอุ่นร่างกายหรือไม่ Warm up

ก่อนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาจำเป็นต้องอบอุ่นร่างกายทุกครั้งเพื่อเตรียมความพร้อมของหัวใจ และหลังจากการออกกำลังควรจะอบอุ่นร่างกายอีกครั้ง รายละเอียดดูได้จากการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

ความฟิตคืออะไร Physical fittness



ความฟิตไม่ได้หมายถึงว่าคุณสามารถวิ่งได้ระยะทางเท่าใด หรือยกน้ำหนักได้เท่าใด แต่ ความฟิตหมายถึงประสิทธิภาพของหัวใจ ปอดและกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปถ้าหากออกกำลังกายได้อย่างน้อยวันละ 30 นาทีโดยออกหนักปานกลาง สัปดาห์ละอย่างน้อย 5 วันถือว่าได้ออกกำลังแบบ aerobic exercise รายละเอียดมีในออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ความฟิตของร่างกายต้องประกอบด้วยปัจจัย 5 อย่าง

Cardiorepiratory endurance หมายถึงความสามารถของหัวใจที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้อย่างเพียงพอในขณะที่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบ areobic จะเป็นการฝึกให้หัวใจแข็งแรง
Muscular strength ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อซึ่งเราสามารถเพิ่มความแข็งแรงได้โดยการยกน้ำหนัก หรือวิ่งขึ้นบันได
Muscular enduranceความทนของกล้ามเนื้อหมายถึงความสามารถของกล้ามเนื้อที่จะทำงานอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า
สัดส่วนของร่างกาย หมายถึงสัดส่วนของกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน การออกกกำลังจะทำให้มีปริมาณกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณไขมันจะลดลง อาจจะดูได้จากดัชนีมวลกาย
Flexibility ความยืดหยุดของกล้ามเนื้อ เอ็น เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหรือข้อได้รับอุบัติเหตจากการออกกำลังกาย อ่านและฟังที่นี่
ขณะป่วยควรออกกำลังกายหรือไม่

ขณะเจ็บป่วยไม่ควรจะออกกำลังกายเพราะจะทำให้โรคเป็นมากขึ้น ควรจะพักจนอาการดีขึ้น หากพักเกินสองสัปดาห์เวลาเริ่มออกกำลังกายควรจะเริ่มเบาๆก่อน และหากท่านเป็นโรคเรื้อรังควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย



จริงหรือไม่ที่การออกกำลังกายโดยการเดินดีพอๆกับการวิ่ง

การเริ่มต้นออกกำลังควรใช้วิธีเดินเนื่องจากจะไม่เหนื่อยมาก ยังลดน้ำหนักได้และอาการปวดข้อไม่มาก ส่วนการวิ่งจะเป็นการออกกำลังที่คุณเตรียมร่างกายไวพร้อมแล้วเพราะการวิ่งจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ทำให้เหนื่อย และทำให้ปวดข้อ ดังนั้นการออกกำลังโดยการเดินเหมาะสำหรับคนอ้วน หรือผู้ที่เริ่มออกกำลังกายแต่ถ้าผู้ที่ต้องการความฟิตของร่างกายควรออกกำลังโดยการวิ่ง

คนท้องควรออกกำลังหรือไม่

คนท้องควรออกกำลังกายเป็นประจำแต่ออกกำลังแบบเบาๆโดยการเดิน ไม่ควรวิ่ง ไม่ควรยกของหนัก รายละเอียดอ่านได้จากการออกกำลังในคนท้อง

จะรู้ได้อย่างไรว่าออกกำลังกายมากเกินไป

ท่านสามารถสังเกตขณะออกกำลังกายว่ามากไปหรือไม่โดยสังเกตจากอาการดังต่อไปนี้

หัวใจเต้นเร็วมากจนรู้สึกเหนื่อย
หายใจเหนื่อยจนพูดไม่เป็นประโยค
เหนื่อยจนเป็นลม
ไม่มีอาการปวดข้อหลังออกกำลังกาย
หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดการออกกำลังสองวันและเวลาออกกำลังให้ลดระดับการออกกำลังกาย

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

ผลต่อโรคความดันโลหิตสูง(140/90)

ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 35%
การออกกกำลังอย่างสท่ำเสมอจะลดทั้งความดัน systole และ diastole อย่างชัดเจน
คนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจะมีอัตราการเสี่ยงชีวิตจากโรคแทรกซ้อน น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลัง
การออกกำลังจะช่วยเพิ่มอายุ 1-1.5ปี
ผลต่อโรคเส้นเลือดสมอง

อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองลดลงเมื่ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
เมื่อขึ้นบันไดวันละ 20 ขั้นจะลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลงร้อยละ 20
ผู้ที่ออกกกำลังกายโดยการเดินเร็วๆสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงจะมีอุบัติการของโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงร้อยละ 40
ผลต่อโรคเบาหวาน

ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีโอกาสการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 42
ผู้ออกกกำลังมากจนกระทั่งเหงื่อออก 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะมีอุบัติการของการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 22
ผลต่อหัวใจ

ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายจะมีโอกาศเสียชีวิตเป็นสองเท่าของผู้ที่ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายจะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น
การออกกำลังกายจะทำให้หัวใจสะสมพลังงานไว้ใช้เมื่อเวลาหัวใจต้องทำงานหนัก
เพิ่มความแข็งแรงในการบีบตัวของหัวใจ
ลดระดับไขมันในเลือด เพิ่มระดับ HDL (ซึ่งเป็นไขมันที่ดี)
ลดระดับความดันโลหิต ลดการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานน้อยลง
ผลต่อมะเร็ง

การออกกำลังกายจะลดการเกิดโรคมะเร็งได้ร้อยละ 46
ผลต่อคุณภาพชีวิต

การออกกำลังกาย 1500 กิโลแครอรีต่อสัปดาห์(ออกกำลังกายหนักปานกลาง)จะเพิ่มอายุ 1.57 ปีและลดอุบัติการการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลงร้อยลง 67
สำหรับผู้สูงอายุทุก 1 ไมล์ที่เดินจะลดอุบัติการเสียชีวิตลงร้อยละ 19
การออกกกำลังอย่างสม่ำเสมอ(อายุ 45-84)จะลดการเสียชีวิตร้อยละ 18
การออกกำลังกาย การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ การออกกำลังเพื่อให้หัวใจแข็งแรง การออกกำลังกับโรคไต การออกกำลังในน้ำ การออกกำลังในโรคเบาหวาน

ทบทวน 6 พย 2547

http://www.siamhealth.net/public_html/Health/good_health_living/exercise/index.htm

เอดส์

เอดส์ คืออะไร
เอดส์ หรือ AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome) เป็นกลุ่มอาการของโรค ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอดส์ ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือกขาว ซึ่งเป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ติดเชื้อโรคอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ อาการจะรุนแรง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต
สนใจการแพทย์ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์ คลิกที่นี่ Red Ribbon

--------------------------------------------------------------------------------
เอดส์ ติดต่อกันได้อย่างไร
1. การร่วมเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าชายกับชาย ชายกับหญิง หรือหญิงกับหญิง ทั้งช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็ล้วนมีโอกาสติดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น และปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น ได้แก่ การมีแผลเปิด และจากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา ประมาณร้อยละ 84 ของผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
2. การรับเชื้อทางเลือด
- ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติด และหากคนกลุ่มนี้ติดเชื้อ ก็สามารถถ่ายทอดเชื้อเอดส์ ทางเพศสัมพันธ์ได้อีกทางหนึ่ง
- รับเลือดในขณะผ่าตัด หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด ในปัจจุบันเลือดที่ได้รับบริจาคทุกขวด ต้องผ่านการตรวจหาการติดเชื้อเอดส์ และจะปลอดภัยเกือบ 100%
3. ทารก ติดเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์ หากตั้งครรภ์ และไม่ได้รับการดูแลอย่างดี เชื้อเอช ไอ วี จะแพร่ไปยังลูกได้ ในอัตราร้อยละ 30 จากกรณีเกิดจากแม่ติดเชื้อ จึงมีโอกาสที่จะรับเชื้อเอช ไอ วี จากแม่ได้

--------------------------------------------------------------------------------
เอดส์ มีอาการอย่างไร
คนที่สัมผัสกับโรคเอดส์หรือคนที่ได้รับเชื้อเอดส์เข้าไปในร่างกายม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อเอดส์เสมอไปขึ้นกับจำนวนครั้งที่สัมผัสจำนวนและความดุร้ายของไวรัสเอดส์ที่เข้าสู่ร่างกายและภาวะภูมิต้านทานของร่างกายถ้ามีการติดเชื้ออาการที่เกิดขึ้นมีได้หลายรูปแบบหรือหลายระยะตามการดำเนินของโรค
ระยะที่ 1 : ระยะที่ไม่มีอาการอะไร
ภายใน2-3 อาทิตย์แรกหลังจากได้รับเชื้อเอดส์เข้าไป ราวร้อยละ 10 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายๆ ไข้หวัด คือมีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นตามตัว แขน ขาชาหรืออ่อนแรง เป็นอยู่ราว 10-14 วันก็จะหายไปเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่สังเกต นึกว่าคงเป็นไข้หวัดธรรมดาราว 6-8 สัปดาห์ภายหลังติดเชื้อ ถ้าตรวจเลือดจะเริ่มพบว่ามีเลือดเอดส์บวกได้ และส่วนใหญ่จะตรวจพบว่ามีเลือดเอดส์บวกภายหลัง 3 เดือนไปแล้ว โดยที่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการอะไรเลยเพียงแต่ถ้าไปตรวจก็จะพบว่ามีภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์อยู่ในเลือดหรือที่เรียกว่าเลือดเอดส์บวกซึ่งแสดงว่ามีการติดเชื้อเอดส์เข้าไปแล้วร่างกายจึงตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนบางอย่างขึ้นมาทำปฏิกิริยากับไวรัสเอดส์เรียกว่าแอนติบอดีย์(antibody)เป็นเครื่องแสดงว่าเคยมีเชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกายมาแล้วแต่ก็ไม่สามารถจะเอาชนะไวรัสเอดส์ได้คนที่มีเลือดเอดส์บวกจะมีไวรัสเอดส์อยู่ในตัวและสามารถแพร่โรคให้กับคนอื่นได้ น้อยกว่าร้อยละ 5 ของคนที่ติดเชื้ออาจต้องรอถึง 6 เดือนกว่าจะมีเลือดเอดส์บวกได ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมา เช่น แอบไปมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน ตรวจตอน 3 เดือน แล้วไม่พบก็ต้องไปตรวจซ้ำอีกตอน6เดือนโดยในระหว่างนั้นก็ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์กับภรรยาและห้ามบริจาคโลหิตให้ใครในระหว่างนั้นผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองตามตัวโตได้โดยโตอยู่เป็นระยะเวลานานๆ คือเป็นเดือนๆ ขึ้นไป ซึ่งบางรายอาจคลำพบเอง หรือไปหาแพทย์แล้วแพทย์คลำพบ ต่อมน้ำเหลืองที่โตนี้มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ ขนาด1-2 เซนติเมตร อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณด้านข้างคอทั้ง 2 ข้าง(รูปที่ 2) ข้างละหลายเม็ดในแนวเดียวกัน คลำดูแล้วคลายลูกประคำที่คอไม่เจ็บ ไม่แดง นอกจากที่คอต่อมน้ำเหลืองที่โตยังอาจพบได้ที่รักแร้และขาหนีบทั้ง 2 ข้าง แต่ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบมีความสำคัญน้อยกว่าที่อื่นเพราะพบได้บ่อยในคนปกติทั่วไป ต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้จะเป็นที่พักพิงในช่วงแรกของไวรัสเอดส์ โดยไวรัสเอดส์จะแบ่งตัวอย่างมากในต่อมน้ำเหลืองที่โตเหล่านี้
ระยะที่ 2 : ระยะที่เริ่มมีอาการหรือระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์
เป็นระยะที่คนไข้เริ่มมีอาการ แต่อาการนั้นยังไม่มากถึงกับจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น อาการในช่วงนี้อาจเป็นไข้เรื้อรัง น้ำ หนักลด หรือท้องเสียงเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้อาจมีเชื้อราในช่องปาก(รูปที่ 3), งูสวัด(รูปที่ 4), เริมในช่องปาก หรืออวัยวะ เพศ ผื่นคันตามแขนขา และลำตัวคล้ายคนแพ้น้ำลายยุง(รูปที่ 5) จะเห็นได้ว่า อาการที่เรียกว่าสัมพันธ์กับเอดส์นั้น ไม่จำเพาะสำหรับโรคเอดส์เสมอไป คนที่เป็นโรคอื่นๆ ก็อาจมีไข้ น้ำหนักลด ท้องเสีย เชื้อราในช่องปาก งูสวัด หรือเริมได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าถ้ามีอาการเหล่านี้จะต้องเหมาว่าติดเชื้อเอดส์ไปทุกร้าย ถ้าสงสัยควรปรึกษา แพทย์และตรวจเลือดเอดส์พิสูจน์
ระยะที่ 3 : ระยะโรคเอดส์เต็มขั้น หรือที่ภาษาทางการเรียกว่าโรคเอดส์
เป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่ายกายเสียไปมากแล้วผู้ป่วยจะมีอาการของการติดเชื้อจำพวกเชื้อฉกฉวยโอกาสบ่อยๆและเป็นมะเร็งบางชนิดเช่นแคโปซี่ซาร์โคมา(Kaposi'ssarcoma)และมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อฉกฉวยโอกาสหมายถึงการติดเชื้อที่ปกติมีความรุนแรงต่ำไม่ก่อโรคในคนปกติแต่ถ้าคนนั้นมีภูมิต้านทานต่ำลงเช่นจากการเป็นมะเร็งหรือจากการได้รับยาละทำให้เกิดวัณโรคที่ปอดต่อมน้ำเหลืองตับหรือสมองได้ รองลงมาคือเชื้อพยาธิที่ชื่อว่านิวโมซิส-ตีส-คารินิไอ ซึ่งทำให้เกิดปอดบวมขึ้นได้(ไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ) ต่อมาเป็นเชื้อราที่ชื่อ คริปโตคอคคัสซึ่งทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ซึมและอาเจียน นอกจากนี้ยังมีเชื้อฉกฉวยโอกาสอีกหลายชนิด เช่นเชื้อพยาธิที่ทำให้ท้องเสียเรื้อรัง และเชื้อซัยโตเมก กะโลไวรัส (CMV) ที่จอตาทำให้ตาบอด หรือที่ลำไส้ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย และถ่ายเป็นเลือดเป็นต้นในภาคเหนือตอนบน มีเชื้อราพิเศษ ชนิดหนึ่งชื่อ เพนนิซิเลียว มาร์เนฟฟิโอ ชอบทำให้ติดเชื้อที่ผิวหนัง(รูปที่ 6) ต่อมน้ำเหลืองและมีการติดเชื้อในกระแสโลหิตแคโปซี่ ซาร์โค มา เป็นมะเร็งของผนังเส้นเลือด ส่วนใหญ่จะพบตามเส้นเลือดที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีม่วงๆ แดงๆ บนผิวหนัง คล้ายจุดห้อเลือด หรือไฝ ไม่เจ็บไม่คันค่อยๆ ลามใหญ่ขึ้น ส่วนจะมีหลายตุ่ม(รูปที่ 7) บางครั้งอาจแตกเป็นแผล เลือดออกได้ บางครั้งแคโปซี่ซาร์โคมา อาจเกิดในช่องปากในเยื่อบุทางเดินอาหาร ซึ่งอาจทำให้มีเลือดออกมากๆ ได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้นผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน นอกจากนี้คนไข้โรคเอดส์เต็มขั้นอาจมีอาการทางจิตทางประสาทได้ด้วยโดยที่อาจมีอาการหลงลืมก่อนวัย เนื่องจากสมองฝ่อเหี่ยว หรือมีอาการของโรคจิต หรืออาการชักกระตุก ไม่รู้สึกตัว แขนขาชาหรือไม่มีแรง บางรายอาจมีอาการปวดร้าวคล้ายไฟช๊อตหรือปวดแสบปวดร้อน หรืออาจเป็นอัมพาตครึ่งท่อน ปัสสาวะ อุจจาระไม่ออก เป็นต้น ในแต่ละปีหลังติดเชื้อเอดส์ร้อยละ 5-6 ของผู้ที่ติดเชื้อจะก้าวเข้าสู่ระยะเอดส์เต็มขั้นส่วนใหญ่ของคนที่เป็นโรคเอดส์เต็มขั้นแล้ว จะเสียชีวิตภายใน2-4 ปี จากโรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาสที่เป็นมาก รักษาไม่ไห หรือโรคติดเชื้อที่ยังไม่มียาที่จะรักษาอย่างได้ผล หรือเสียชีวิตจากมะเร็งที่เป็นมากๆ หรือค่อยๆ ซูบซีดหมดแรงไปในที่สุด พบว่ายาต้านไวรัสเอดส์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ในประเทศตะวันตกสามารถยืดชีวิตคนไข้ออกไปได้10 - 20 ปีและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น หรืออาจอยู่จนแก่ตายได้
--------------------------------------------------------------------------------
อาการของเอดส์ มี 2 ระยะ
1. ระยะไม่มีอาการ ผู้ติดเชื้อจะมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะนี้ และบางคนไม่ทราบว่า ตัวเองติดเชื้อ จึงอาจแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
2. ระยะมีอาการ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเริ่มแสดงอาการ ภายหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 7-8 ปี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
- ระยะเริ่มปรากฎอาการ อาการที่พบคือ มีเชื้อราในปาก ต่อมน้ำเหลืองโต งูสวัด มีไข้ ท้องเสีย น้ำหนักลด มีตุ่มคันบริเวณผิวหนัง
- ระยะโรคเอดส์ เป็นระยะที่มีภูมิต้านทานลดลงมาก ทำให้ติดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------
ป้องกันตัวเอง ไม่ให้ติดเชื้อเอดส์ ได้อย่างไร
รักเดียว ใจเดียว หากจะมีเพศสัมพันธ์กับหญิง ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์
ขอรับบริการปรึกษา เรื่อง โรคเอดส์ ก่อนแต่งงาน และก่อนที่จะมีบุตรทุกท้อง
ไม่ดื่มเหล้า และงดใช้สารเสพติดทุกชนิด
--------------------------------------------------------------------------------
วิธีใช้ถุงยางอนามัย (http://www.anamai.moph.go.th/healthteen/parents/care32.html)
- หลังจากตรวจสอบว่า ถุงยางอนามัยไม่หมดอายุ ซองไม่มีรอยฉีกขาด ฉีกมุมซองโดยระมัดระวัง ไม่ให้เล็บมือเกี่ยวถุงยางอนามัยขาด
- ใช้ถุงยางอนามัยในขณะที่อวัยวะเพศแข็งตัว บีบปลายถุงยาง เพื่อไล่อากาศ
- รูดถุงยางอนามัย โดยให้ม้วนขอบอยู่ด้านนอก

- สวมถุงยางอนามัย แล้วรูดให้ขอบถุงยางอนามัย ถึงโคนอวัยวะเพศ
- หลังเสร็จกิจ ควรรีบถอดถุงยางอนามัย ในขณะที่อวัยวะเพศยังแข็งตัว โดยใช้กระดาษชำระหุ้มถุงยางอนามัยก่อนที่จะถอด หากไม่มีกระดาษชำระต้องระวัง ไม่ให้มือสัมผัสกับด้านนอกของถุงยาง ควรสันนิษฐานว่า ด้านนอกของถุงยาง อาจจะปนเปื้อนเชื้อเอดส์แล้ว
- ทิ้งถุงยางอนามัยที่ใช้แล้ว ลงในภาชนะรองรับ เช่น ถังขยะ

--------------------------------------------------------------------------------
เอดส์ รู้ได้อย่างไรว่า ติดแล้ว
เนื่องจากโรคนี้แสดงอาการช้า แต่สามารถทราบได้ โดยการตรวจเลือด หากต้องการผลที่แม่นยำ ควรตรวจภายหลังจากมีพฤติกรรมเสี่ยง 6 สัปดาห์ขึ้นไป
--------------------------------------------------------------------------------
เอดส์ รักษาได้หรือไม่
ขณะนี้ยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ให้หายได้ ยาที่ใช้ปัจจุบันจะช่วยยับยั้ง ไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้น ในร่างกายผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยเอดส์จะมีสุขภาพแข็งแรง สามารถทำงานได้ตามปกติ
--------------------------------------------------------------------------------
เอดส์ ใครบ้างที่ควรตรวจหาเชื้อเอดส์
- ผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง และต้องการรู้ว่าตนเองติดเชื้อเอดส์หรือไม่
- ผู้ที่ตัดสินใจจะมีคู่ หรืออยู่กินฉันท์สามีภรรยา
- ผู้ที่สงสัยว่า คู่นอนของตนจะมีพฤติกรรมเสี่ยง
- ผู้ที่คิดจะมีบุตร ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของแม่และลูก
- ผู้ที่ต้องการข้อมูลสนับสนุนเรื่องความปลอดภัย และสุขภาพของร่างกาย เช่น ผู้ที่ต้องไปทำงานในต่างประเทศ (บางประเทศ)
--------------------------------------------------------------------------------
เอดส์ เราอยู่ร่วมกันได้
คนที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี สามารถอยู่ร่วมกับสังคม และครอบครัวได้ และทำงานได้เหมือนกับคนทั่วไป เพราะเชื้อเอช ไอ วี ไม่ได้ติดต่อกันโดย การสัมผัส การกอดจูบ การรับประทานอาหาร การขับถ่าย การใช้ของร่วมกัน การอยู่ใกล้กัน การสนทนากัน หรือถูกยุงกัด ดังนั้น จึงไม่ต้องแยกวงรับประทานอาหาร ไม่ต้องแยกห้องนอน ห้องน้ำ อุปกรณ์ของใช้ต่างๆ หรือห้องทำงาน
--------------------------------------------------------------------------------
บริการปรึกษา ปัญหาสุขภาพ
- กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โทร. 0-2286-0431, 0-2286-4483
- โรงพยาบาลบำราศนราดูร โทร. 0-2590-3737, 0-2590-3510
- กองควบคุมโรคเอดส์ กทม. โทร. 0-2860-8751-6 ต่อ 407-8
- มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์ โทร. 0-2277-7699, 0-2277-8811 (โทรฟรี)
- มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ โทร. 0-2372-2222
- สถานบริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง
--------------------------------------------------------------------------------
AIDS (wikipedia.org)
โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome - AIDS) เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลง จึงทำให้ติดเชื้อโรคฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรคในปอด หรือต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา โรคผิวหนังบางชนิด หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดขึ้นจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เหล่านี้ ทำให้อาการจะรุนแรง และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันโรคเอดส์มีการตรวจพบทั่วโลก และประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคเอดส์ อย่างน้อย 25 ล้านคน ตั้งแต่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) นับเป็นโรคที่มีอันตรายสูงโรคหนึ่งของประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ ในปี พ.ศ. 2548 ประมาณการว่ามีผู้ติดโรคเอดส์ประมาณ 3.1 ล้านคน(ระหว่าง 2.8 - 3.6 ล้าน) ซึ่ง 570,000 คนของผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นเด็ก (UNAIDS, 2005)
Acquired immune deficiency syndrome or acquired immunodeficiency syndrome (AIDS or Aids) is a collection of symptoms and infections resulting from the specific damage to the immune system caused by the human immunodeficiency virus (HIV) in humans,[1] and similar viruses in other species (SIV, FIV, etc.). The late stage of the condition leaves individuals susceptible to opportunistic infections and tumors. Although treatments for AIDS and HIV exist to decelerate the virus's progression, there is currently no known cure. HIV, et al., are transmitted through direct contact of a mucous membrane or the bloodstream with a bodily fluid containing HIV, such as blood, semen, vaginal fluid, preseminal fluid, and breast milk.[2][3] This transmission can come in the form of anal, vaginal or oral sex, blood transfusion, contaminated hypodermic needles, exchange between mother and baby during pregnancy, childbirth, or breastfeeding, or other exposure to one of the above bodily fluids.
Most researchers believe that HIV originated in sub-Saharan Africa during the twentieth century;[4] it is now a pandemic, with an estimated 33.2 million people now living with the disease worldwide.[5] As of January 2006, the Joint United Nations Programme on HIV/AIDS (UNAIDS) and the World Health Organization (WHO) estimate that AIDS has killed more than 25 million people since it was first recognized on June 5, 1981, making it one of the most destructive epidemics in recorded history. In 2005 alone, AIDS claimed an estimated 2.4–3.3 million lives, of which more than 570,000 were children.[6] A third of these deaths are occurring in sub-Saharan Africa, retarding economic growth and destroying human capital. Antiretroviral treatment reduces both the mortality and the morbidity of HIV infection, but routine access to antiretroviral medication is not available in all countries.[7] AIDS death toll in Africa may reach 90-100 million by 2025.[8][9]
HIV/AIDS stigma is more severe than that associated with other life-threatening conditions and extends beyond the disease itself to providers and even volunteers involved with the care of people living with HIV.

--------------------------------------------------------------------------------

แนะนำเว็บไซต์ (Website Guides)
http://www.aidsthai.org กลุ่มโรคเอดส์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
http://www.aids.org (English Reports)
http://www.thailabonline.com/hiv1.htm
http://www.aidsthaidata.org/home.php
http://pha.narak.com
http://school.obec.go.th/wattiandad/text/aids.htm
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/HIV/INDEX.htm



--------------------------------------------------------------------------------