วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ป่าชายเลน

ระบบนิเวศป่าชายเลน


สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของป่าชายเลนมีความแตกต่างออกไปอย่างมากจากป่าชนิดอื่นๆโดยเฉพาะดิน เนื่องจากมีสภาพเป็นดินเลนในที่ราบกว้างใหญ่ ดินเหล่านี้มีความอุดมสมบูรณ์สูงจากธาตุอาหารที่ไหลมาจากแหล่งต่างๆ เช่น จากการกันเซาะตามชายฝั่งและแหล่งน้ำลำธาร อีกส่วนหนึ่งมาจากซากพืชซากสัตว์ในบริเวณป่าชายเลนเอง โดยเฉพาะใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมกันเป็นจำนวนมาก แพลงก์ตอนพืชและสาหร่าย ส่วนสภาพความเค็มของน้ำบริเวณนี้มีระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีน้ำจืดไหลลงมาปะปนกับน้ำทะเลจึงทำให้น้ำบริเวณนี้เป็นน้ำกร่อย ระดับความเค็มของน้ำดังกล่าวยังเปลี่ยนแปลงไปได้ตามระดับน้ำที่ขึ้นลงเป็นประจำ กล่าวคือ ระดับความเค็มจะสูงขึ้นเมื่อน้ำขึ้น และในขณะที่อยู่ในช่วงน้ำเกิด น้ำทะเลจะสามารถไหลเข้าสู่ป่าชายเลนได้เป็นระยะทางไกลขึ้นซึ่งเป็นไปในทางกลับกันกับน้ำลงและช่วงน้ำตายตามลำดับ

ลักษณะทางกายภาพดังกล่าวมีผลต่อชุมชนในป่าชายเลนเป็นอย่างมาก โดยมีผลทางตรงต่อชนิดและการกระจายของพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ดังจะเห็นได้จากป่าชายเลนแหล่งต่างๆของโลก พันธุ์ไม้จะขึ้นอยู่ในลักษณะเป็นเขตแนวของแต่ละชนิด โดยมีแบบแผนแน่นอนจากบริเวณฝั่งน้ำเข้าไปด้านในของป่า อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากป่าบกทั่วไป ทั้งนี้เพราะลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ป่าที่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกันตั้งแต่ชายฝั่งถึงส่วนที่อยู่ลึกเข้าไป พันธุ์ไม้ต่างๆที่มีการปรับตัวมาจนขึ้นอยู่ได้ในเขตนี้ แม้จะปรับตัวมาในลักษณะคล้ายกัน แต่ยังคงมีความแตกต่างกันในบางส่วน ที่ทำให้สามารถเจริญและแพร่กระจายอยู่ได้ในบริเวณต่างกันของป่าชายเลน โดยเฉพาะบริเวณที่มีสภาพเป็นดินเลนลึก มีน้ำท่วมถึงเสมอกับบริเวณที่เป็นดินเลนตื้น และมีน้ำท่วมถึงเป็นบางครั้งบางคราว พันธุ์ไม้ที่จะขึ้นได้ในบริเวณที่เป็นดินเลนลึกจึงต้องมีรากค้ำจุนที่แข็งแรงเป็นจำนวนมาก รากเหล่านี้ช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรงอยู่ได้ไม่โค่นล้มเมื่อถูกพายุพัดหรือคลื่นซัด ได้แก่ พันธุ์ไม้พวก โกงกาง ต้นอ่อนจึงสามารถเจริญเติบโตตั้งแต้อยู่บนต้นแม่จนกระทั่งพร้อมที่จะงอกรากและเติบโตเป็นต้น กล้าที่แข็งแรงทันทีที่ร่วงหล่นลงสู่พื้นดินบสัตว์ต่างๆที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนต่างก็ได้รับอิทธิพลจาก สภาพแวดล้อมที่ต่างไปจากสัตว์ในป่าบกทั่วไปเช่นกัน สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามเรือนยอดของพันธุ์ไม้ต่างๆในป่าชายเลนเป็นพวกที่ไม่จำเป็นต้องมีการปรับตัวโดยเฉพาะ ได้แก่ นก แมลง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดต่างๆ เช่น ลิง หนูค้างคาว เสือปลา นาก และแมวป่า รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด เต่า และงู เป็นต้น สัตว์พวกนี้อาจมีการอพยพไปมาจากป่าชายเลนสู่ป่าข้างเคียงได้ แต่สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่าโดยอาศัยคืบคลานหรือเกาะหรือขุดรูอยู่ตามพื้นดิน รวมทั้งพวกที่อยู่ในน้ำจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อการอยู่รอดเนื่องจากต้องประสบกับสภาวะต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำหรือต้องอยู่ในสภาพไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยทั่วไป เช่น สภาวะที่ทำให้มีการสูญเสียน้ำออกจากลำตัว และสภาพอุณหภูมิสูง สภาพที่มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต่ำของดินเลน และการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำ สัตว์พวกนี้ได้แก่ หอย ปู กุ้ง หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน ไส้เดือนทะเล และครัสเตเชียน เป็นต้น


อย่างไรก็ตามชุมชนในป่าชายเลนจะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆจำนวนมากที่สามารถปรับตัวอยู่ได้และแพร่ลูกแพร่หลานเป็นจำนวนมาก ทำให้ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิดก็ได้อาศัยวางไข่และอนุบาลตัวอ่อนในบริเวณนี้ โดยบางชนิดอาศัยอยู่จนครบวงจรของชีวิต



ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนในแง่ของการถ่ายทอดพลังงาน เป็นแบบที่เริ่มต้นด้วยเศษอินทรียสาร (detritus) ซึ่งได้จากการสลายตัวของใบไม้ในบริเวณป่าชายเลนโดยจุลินทรีย์ผู้ย่อยสลาย อินทรียวัตถุเหล่านี้จะเป็นอาหารของพวกกินเศษอินทรียวัตถุ เช่น แอมฟิพอด หอย กุ้ง ปู และตัวอ่อนของแมลงต่างๆ จากพื้นก็จะถูกกินต่อๆกันไปตามลำดับขั้นของลูกโซ่อาหาร
(ที่มา: สนิท อักษรแก้ว,2541)


โครงสร้างของป่าชายเลน

ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่ประกอบด้วยพืชพรรณและสัตว์นานาชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย หรือมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ พบทั่วไปตามที่ราบปากแม่น้ำ ชายฝั่งทะเล ทะเลสาบ และบริเวณรอบเกาะแก่งต่างๆ หลักการในการจำแนกชนิดของป่าชายเลนในประเทศไทย ซึ่งใช้ลักษณะพื้นที่และการท่วมถึงของน้ำทะเลมี 4 ชนิด คือBasin forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นติดกับผืนแผ่นดินใหญ่ (main land) ตามลำแม่น้ำเล็กๆ จะได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลน้อยมาก กล่าวคือ น้ำทะเลจะท่วมถึงเฉพาะเวลาที่มีน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (extreme high tide) เท่านั้น และมีอิทธิพลจากน้ำจืดมาก ลักษณะพันธุ์ไม้จะเป็นต้นเตี้ยและพวกเถาวัลย์Riverine forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งแม่น้ำใหญ่ๆที่ติดต่อกับอ่าว ทะเล และทะเลสาบ ป่าประเภทนี้ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลอยู่อย่างสม่ำเสมอ คือจะมีกระแสน้ำท่วมอยู่เป็นประจำวัน โดยพันธุ์ไม้จะเจริญเติบโตค่อนข้างสมบูรณ์ดี

Fringe forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นตามชายฝั่งทะเลติดกับผืนแผ่นดินใหญ่ หรือบริเวณชายฝั่งที่เป็นเกาะใหญ่ๆ ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลอยู่สม่ำเสมอ คือน้ำทะเลจะท่วมถึงอยู่เป็นประจำวัน พันธุ์ไม้ของป่าจะเจริญเติบโตได้ดี และเป็นป่าที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์

Overwash forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่บนเกาะเล็กๆ จะถูกน้ำทะเลท่วมทั้งหมดเมื่อระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด การเจริญเติบโตของป่าชนิดนี้ต่ำ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมและน้ำทะเลมาก อีกประการหนึ่งคือ พวกปุ๋ยและธาตุอาหารในป่าชนิดนี้จะถูกชะไปโดยกระแสน้ำออกจากป่าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การเจริญเติบโตของป่าชนิดนี้ไม่ดีและป่าจะมีลักษณะเตี้ย

เอกลักษณ์ของป่าชายเลนที่ทำให้แตกต่างจากป่าบกอย่างชัดเจน คือ การแพร่กระจายของพืชพันธุ์ที่มีลักษณะแบ่งออกเป็นแนวเขต (zonation) โดยพันธุ์ไม้แต่ละชนิดจะขึ้นเป็นแนวเขตหรือเป็นโซน ค่อนข้างแน่นอน แต่การแบ่งเขตของพืชในพื้นที่แต่ละแห่งจะแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพและเคมีภาพของดิน ความเค็มของน้ำ การท่วมถึงของน้ำทะเล กระแลน้ำ การระบายน้ำ และความเปียกชื้นของดิน (ที่มา: สนิท อักษรแก้ว,2541)


เขตของป่าชายเลน

เขตต่างๆของพันธุ์ไม้ชายเลนในแต่ละแห่งที่พบในประเทศไทยมีความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งมีเขตของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนโดยสังเขป มีลำดับดังนี้

1. เขตป่าโกงกาง
ประกอบด้วย โกงกางใบเล็ก (Rhizophoro apiculata) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีต้น โกงกางใบใหญ่ (R.mucronata) ขึ้นอยู่ทางด้านนอกริมฝั่งแม่น้ำ โดยมากมักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ส่วน แสม นั้นมักขึ้นแซมตามชายป่าด้านนอกหรือถัดเข้าไปเพียงเล็กน้อย ซึ่งมองเห็นได้ชัดเพราะมีต้นสูงใหญ่กว่าโกงกางนอกจากนี้ยังมี ประสัก และ พังกาหัวสุม ขึ้นแทรกอยู่ทางด้านในของเขตนี้ ซึ่งอยู่ในระยะประมาณ 50-100 เมตร จากชายฝั่งและในบางแห่งพบต้น จาก (Nypa)ขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ ปะปนด้วย โดยเฉพาะในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย

2. เขตป่าตะบูนและโปรง
ประกอบด้วย ตะบูน (Xylocarpus) ขึ้นต่อจากเขตต้น โปรง เข้าไป และมีต้นฝาดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น บางบริเวณอาจมี ลำแพน แทรกอยู่ด้วย

3. เขตป่าตาตุ่ม และฝาด
เป็นบริเวณที่มีดินเลนแข็งขึ้นอยู่ในระดับที่น้ำจะท่วมถึงในช่วงน้ำเกิด อยู่ถัดจากป่าตะบูนและโปรงขึ้นไป โดยมีต้น ฝาด ขึ้นอยู่หนาแน่นปะปนกับต้น ตาตุ่ม โดยบางแห่งจะมีต้น ลำแพน ขึ้นแทรกอยู่ด้วย

4. เขตป่าเสม็ด
ประกอบด้วย เสม็ด ขึ้นอยู่หนาแน่น เป็นเขตสุดท้ายของป่าชายเลนที่น้ำท่วมถึงในช่วงน้ำเกิดหรือท่วมไม่ถึง ติดต่อกับป่าบกหรือทุ่งนา
(ที่มา: สนิท อักษรแก้ว,2541)









ตัวอย่างพรรณไม้ป่าชายเลน
กรวย Horsfiedia irya
โกงกางใบเล็ก Rhizophora apiculata
โกงกางใบใหญ่ Rhizophora mucronata
ขลู่ Pluchea indica
แคทะเล Dolichandrone spathacea
โคลงเคงขน Melastoma villosum
งาไซ Planchonella obovata
จาก Nypa fruticans
จิกสวน Barringtonia racemosa
จิกเล Barringtonia asiatica
ชะคราม Sueda maritima
ชะเลือก Premna obtusifolia
แดงน้ำ Amoora cucullata
ต่อไส้ Allophyllus cobbe
ตะบัน Xylocarpus gangeticus
ตะบูนขาว Xylocarpus granatum
ตะบูนดำ Xylocarpus moluccensis
ตีนเป็ดทราย Cerbera manghas
ตีนเป็ดทะเล Cerbera odollam
ตาตุ่ม Excoecaria agallocha
เตย Pandanus odoratissimus
ถั่วดำ (Bruguiera parviflora) วงศ์ Rhizophoraceae
ถั่วขาว (Bruguiera cylindrica) วงศ์ Rhizophoraceae
เทียนเล Pemphisacidula sp.
ไทรย้อยใบหู่ Ficus microcarpa
นนทรี Peltrophorum pterocarpum
ปรงทะเล Acrostichum aureum
ปรง Cycas rumphii
ปรงหนู Acrostichum speciosum
เป้ง Phoenix paludosa
โปรงขาว Ceriopus decandra
โปรงแดง Ceriops tagal
ฝาดดอกขาว Lumnitzera racemosa
ฝาดดอกแดง Lumnitzera littorea
พังกาหัวสุมดอกขาว Bruguiera sexangula
พังกาหัวสุมดอกแดง Bruguiera gymnorrhiza
ปอทะเล (Hibiscus tiliaceus) วงศ์ Malvaceae
โพทะเล (Thespesia populnea) วงศ์ Malvaceae

มังคะ Cynometra iripa
รวมใหญ่ ,ทุรังกาลา Ardisia littoralis
รักทะเล Scaevola taccada
รังกะแท้ Kankelia candel
โพรงนก Rapanea porteriana
ลำพูทะเล Sonneratia alba
ลำแพนทะเล Sonneratia griffithii
ลำแพน Sonneratia ovata
ลำพู Sonneratia caseolaris
ลำบิคทะเล Diospyros forrea
เล็บมือนาง Aegiceras corniculatum
สมอทะเล Sapium indicum
สำมะง่า Clerodendrum inerme
สีง้ำ Scyphiphora hydrophyllacea
เสม็ด Melaleuca leucadendron
แสม Aegialites rotundifolia
แสมขาว Avicennia alba
แสมทะเล Avicennia marina
แสมดำ Avicennia officinalis
หงอนไก่ทะเล (Heritiera littoralis) วงศ์ Sterculiaceae
หลาวชะโฮน Oncospermma tigillaria
หยีทะเล Derris indica
หลุมพอทะเล Intsia bijuga
เหงือกปลาหมอดอกขาว Acanthus ebracteatus
เหงือกปลาหมอดอกม่วง Acanthus


http://www.sema.go.th/files/Content/Non_formal/0062/the_mighty/factor/ecology/ecology.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น