วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

การพัฒนาโปรแกรม

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: Computer programming) หรือเรียกให้สั้นลงว่า การเขียนโปรแกรม (อังกฤษ: Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) เป็นขั้นตอนการเขียน ทดสอบ และดูแลซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอร์สโค้ดนั้นจะเขียนด้วยภาษาโปรแกรม ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมต้องการความรู้ในหลายด้านด้วยกัน เกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการจะเขียน และอัลกอริทึมที่จะใช้ ซึ่งในวิศวกรรมซอฟต์แวร์นั้น การเขียนโปรแกรมถือเป็นเพียงขั้นหนึ่งในวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์

การเขียนโปรแกรมจะได้มาซึ่งซอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของ plain text ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะต้องผ่านการคอมไพล์ตัวซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เสียก่อนจึงจะได้เป็นโปรแกรมที่พร้อมใช้งาน

การเขียนโปรแกรมถือว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ของ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ วิศวกรรม เข้าด้วยกัน [1]

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
2 ภาษาโปรแกรม
3 ลิขสิทธิ์ทางปัญญา
4 สาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรม
5 ดูเพิ่ม
6 อ้างอิง


[แก้] ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมหรือพัฒนาโปรแกรม มีขั้นตอนโดยสังเขปดังนี้

วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ (Problem Analysis and Requirement Analysis)
กำหนดและคุณสมบัติของโปรแกรม (Specification)
การออกแบบ (Design)
การโค้ด (Coding)
การคอมไพล์ (Compilation)
การทดสอบ (Testing)
การจัดทำเอกสาร (Documentation)
การเชื่อมต่อ (Integration)
การบำรุงรักษา (Maintenance)
[แก้] ภาษาโปรแกรม
ภาษาโปรแกรมแต่ละภาษาจะมีลักษณะหรือรูปแบบการเขียนที่แตกต่างกัน การเลือกภาษาโปรแกรมหรือภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาเขียนโปรแกรมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่นนโยบายของบริษัท, ความเหมาะสมของโปรแกรมกับลักษณะงานที่จะถูกนำไปใช้, การเข้ากันได้กับโปรแกรมอื่น ๆ, หรืออาจเป็นความถนัดของแต่ละคน ภาษาโปรแกรมที่มีแนวโน้มในการนำมาเขียนมักเป็นภาษาที่มีคนที่สามารถเขียนได้ทันที หรือหากมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ภาษาอื่น เช่นต้องการเน้นประสิทธิภาพในการทำงานของโปรแกรม ก็อาจจำเป็นต้องหานักเขียนโปรแกรมขึ้นมาจำนวนหนึ่งซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในภาษาโปรแกรมที่ต้องการ และต้องมีคอมไพเลอร์ที่รองรับภาษาเหล่านั้นด้วย

[แก้] ลิขสิทธิ์ทางปัญญา
การเขียนโปรแกรม หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้พัฒนาหรือผู้เขียนโปรแกรมหรือบริษัทซอฟต์แวร์ ที่เป็นเจ้าของซอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โปรดดูรายละเอียดในเรื่อง ลิขสิทธิ์

[แก้] สาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรม
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิทยาการคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เพื่อธุรกิจ
การจัดการสารสนเทศ
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์
[แก้] ดูเพิ่ม
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=2189759672010526154
Extreme programming
นักเขียนโปรแกรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น