วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

การใช้โปรมแกรม microsoft escel

โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Excel

โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมที่เหมาะกับงานทางด้าน การคำนวณ การตีตาราง การหาค่าสูตรต่าง ๆ ตลอดจนสามารถนำข้อมูล ไปสร้างเป็นกราฟ เพื่อแสดงแผนภูมิต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขใด ๆ โปรแกรมก็จะทำการคำนวณ สูตรที่เชื่อมโยงกับตัวเลขนั้น ๆ ให้โดยอัตโนมัติ


การเข้าสู่โปรแกรม Microsoft Excel

1. คลิ๊กที่ปุ่ม Start

2. เลื่อนขึ้นไปที่หัวข้อ Program

3. เลื่อนมาด้านขวา คลิ๊กที่โปรแกรม Microsoft Excel


ส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้าจอโปรแกรม Microsoft Excel

1. เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้ว จะเห็นว่าหน้าจอจะตีตารางเป็นช่อง ๆ เราเรียกว่า กระดาษทำการ Work Sheet

2. ด้านบนที่เห็นเป็นตัวอักษร A , B , C , D , E , …….. เป็นการแบ่งแนวตั้งเราเรียกว่า คอลัมน์ Column

3. ด้านซ้ายที่เห็นเป็นตัวเลข 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , ………… เป็นการแบ่งแนวนอนเราเรียกว่า แถว Row

4. จุดตัดระหว่าง คอลัมน์ กับ แถว เราเรียกว่า เซลล์ Cell

5. ที่ Cell A1 จะมีกรอบสีดำเข้ม สามารถเลื่อนไปยัง Cell ต่าง ๆ ได้ เราเรียกว่า ตัวชี้ตำแหน่งเซลล์ ปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ Cell Pointer

การเลื่อน Cell Pointer

1. ใช้เม้าส์คลิ๊กที่ เซลล์ ที่เราต้องการเลื่อน

2. ใช้ลูกศร สี่ทิศ ที่แป้นพิมพ์ในการเลื่อน

3. ใช้ปุ่ม Ctrl + Home เพื่อเลื่อนกลับมาที่ เซลล์ A1

4. ใช้ปุ่ม Ctrl + ลูกศร ขวา เพื่อเลื่อนมา คอลัมน์ ขวาสุด

5. ใช้ปุ่ม Ctrl + ลูกศร ลง เพื่อเลื่อนลงมาบรรทัดสุดท้าย

6. ใช้ปุ่ม Page Up หรือ Page Down เพื่อ เลื่อน ขึ้น หรือ ลง ทีละ 1 หน้าจอภาพ


การพิมพ์ข้อมูลลงใน Cell

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะป้อนข้อมูล

2. พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการ

3. กดปุ่ม Enter หรือ ใช้ลูกศร ที่แป้นพิมพ์เพื่อ เลื่อนไปทางขวา หรือ ขึ้น ลง ได้


การลบข้อมูลในเซลล์

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะลบ

2. กดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์


การแก้ไขข้อมูล

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะแก้ไขข้อมูล

2. กดปุ่ม F2 ที่แป้นพิมพ์

3. ทำการแก้ไขข้อมูล (สามารถใช้ลูกศร ซ้าย – ขวา ที่แป้นพิมพ์ในการเลื่อนเคอร์เซอร์ได้)

4. เสร็จการแก้ไขข้อมูล โดยการกดปุ่ม Enter


การย้ายข้อมูล (Move)

1. เลื่อนเซลล์ไปยังเซลล์ที่จะย้ายข้อมูล

2. นำเม้าส์มาแตะที่ขอบของ Cell Pointer เม้าส์จะเปลี่ยนจากรูป บวก ที่เป็นกาชาด มาเป็นลูกศร

3. กดปุ่มซ้ายของเม้าส์ ค้างไว้ เลื่อน เซลล์ได้เลย


การคัดลอกข้อมูล (Copy)

1. เลื่อนเซลล์ไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกข้อมูล

2. นำเม้าส์มาแตะที่จุดสี่เหลี่ยมสีดำตรงมุมขวาล่างของ Cell Pointer เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายบวก

สีดำ

3. กดปุ่มซ้ายของเม้าส์ค้างไว้ แล้วเลื่อนไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกไปได้เลย

การปรับความกว้างของคอลัมน์

1. เลื่อนเม้าส์ไปชี้ที่เส้นแบ่งระหว่างคอลัมน์ (เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศรสีดำ ซ้าย – ขวา)

2. กดเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์เพื่อปรับความกว้าง หรือจะดับเบิ้ลคลิ๊ก เพื่อให้เครื่อง

ปรับความกว้างอัตโนมัติ


การเขียนสูตรเพื่อทำการคำนวณในเอ็กเซล

1. คลิ๊กที่เซลล์ที่ต้องการจะคำนวณ

2. กดเครื่องหมาย เท่ากับ = เพื่อให้เอ็กเซลทราบว่า ช่องนี้ต้องการทำการคำนวณ

3. พิมพ์สูตรที่ต้องการคำนวณลงไป เช่น พิมพ์ว่า =D3*3% (D3 คือ เซลล์ที่เก็บตัวเลขที่เราจะดึงมาทำการคำนวณ)

4. เมื่อพิมพ์สูตรเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม Enter เครื่องจะทำการคำนวณคำตอบให้


การคัดลอกสูตร (Copy สูตร)

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกสูตร

2. เลื่อนเม้าส์มาชี้ที่จุดสี่เหลี่ยมสีดำ ด้านล่างขวาของกรอบสีดำ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย บวก สีดำ

3. กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ ค้างไว้ แล้วเลื่อนเม้าส์ลงมาเรื่อยจนครบทุกช่องที่จะก๊อปปี้


4. เมื่อปล่อยเม้าส์ เครื่องก็จะทำการคำนวณทุกช่องให้เอง


ถ้าทำการก๊อปปี้แล้วตัวเลขเกิดรางรถไฟขึ้นมา ############## ความหมายคือความกว้างไม่พอ

1. เลื่อนเม้าส์ไปที่เส้นแบ่งระหว่างคอลัมน์ ที่เราจะปรับด้านบน (เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูป ลูกศรสีดำ

ซ้าย – ขวา)

2. ดับเบิ้ลคลิ๊ก เพื่อปรับความกว้างอัตโนมัติ


การคำนวณหายอดรวม

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ที่ต้องการจะหายอดรวม

2. ด้านบน คลิ๊กที่ปุ่ม ซิกม่า (เป็นรูปตัว S )

3. จากนั้นที่เซลล์ จะมีคำสั่งให้ว่า =SUM(ตามด้วยกลุ่มเซลล์)

4. กดปุ่ม Enter เครื่องจะคำนวณหาคำตอบให้


การผสานเซลล์ให้เป็นช่องเดียวกัน จะใช้ในกรณีที่ต้องการให้ข้อความจัดกลางระหว่างคอลัมน์ หลาย ๆ คอลัมน์ เช่น ต้องการให้ชื่อบริษัท ในบรรทัดแรกอยู่ตรงกลางระหว่าง คอลัมน์ A ถึงคอลัมน์ F

วิธีการคือ

1. นำเม้าส์ไปวางที่เซลล์ A1 จากนั้นกดเม้าส์ค้างไว้ ลากมาทางขวาจนถึงคอลัมน์ F1

2. ด้านบน คลิ๊กที่ปุ่ม a เล็ก (ถ้าเลื่อนเม้าส์ไปวางไว้ จะมีคำว่า ผสานและจัดกึ่งกลาง)

3. เครื่องจะทำการผสานเซลล์ แล้วนำข้อความมาจัดกลางให้


การให้เครื่องใส่หมายเลขลำดับที่ต่อเนื่องกันไป เช่น ต้องการให้ลำดับที่เป็น 1 , 2 , 3 , 4 , ไปเรื่อย ๆ


1. คลิ๊กที่เซลล์ที่ต้องการจะเริ่มเลข 1

2. ใส่เครื่องหมายฟันเดียว ‘ ตรงแป้นพิมพ์อักษร ง ไม่ต้องยกแคร่ พิมพ์เลข 1 แล้วกด Enter

3. เลข 1 จะชิดด้านซ้าย เลื่อนเซลล์กลับมาที่เลข 1 ทำการก๊อปปี้ (เลื่อนเม้าส์ ชี้ ตรงจุดสี่เหลี่ยมสีดำตรงมุมล่างขวา เม้าส์จะเปลี่ยนรูปเป็นเครื่องหมาย บวก สีดำ กดเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ลงมาตามต้องการ พอปล่อยเม้าส์ เครื่องจะใส่ตัวเลขเรียงลำดับให้เอง)


การตีตาราง

1. ลากเม้าส์คลุมเซลล์ที่เราต้องการจะตีตาราง

2. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่สอง (แถบจัดรูปแบบ) นับจากด้านหลังปุ่มที่ 3 จะเป็นปุ่มเส้นขอบ ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมเล็ก ๆ หลังปุ่มเส้นขอบ

3. เครื่องจะมีเส้นขอบให้เลือก ให้เลือกปุ่มที่อยู่ในบรรทัดที่ 3 ปุ่มที่ 2 เครื่องจะมีคำว่า เส้นขอบทั้งหมด

4. เครื่องจะตีตารางให้ คลิ๊กเม้าส์ที่เซลล์ไหนก็ได้ เพื่อยกเลิกแถบที่เราลากไว้


การ Save ข้อมูล จะแบ่งเป็น 2 กรณี


ถ้าเป็นการ Save ครั้งแรก หมายถึง เพิ่งพิมพ์งานใหม่

1. คลิ๊ก เมนู แฟ้ม

2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึกเป็น (Save As)

3. จะขึ้นหน้าต่าง Save As จากนั้นในช่องชื่อแฟ้ม เครื่องจะนำเอาบรรทัดแรกที่เราพิมพ์ มาเป็นชื่อแฟ้ม แต่ถ้าเราไม่เอาชื่อแฟ้มนั้นก็ ลบทิ้ง พิมพ์ชื่อแฟ้มที่ต้องการลงไปแล้ว คลิ๊กปุ่ม บันทึก


ถ้าเป็นการ Save งานเดิม หมายถึง เรียกขึ้นมาเพื่อแก้ไข แล้วจะ Save ที่เราแก้ไข

1. คลิ๊ก เมนู แฟ้ม

2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึก (Save)

3. ตรงนี้เครื่องจะไม่ขึ้นหน้าต่าง ใด ๆ เลย เครื่องจะทำการ Save ลงที่แฟ้มเดิมที่เราเรียกใช้อยู่ เพราะเครื่องทราบว่าจะ Save ที่แฟ้มใดอยู่แล้ว


การยกเลิกเส้นตารางบางส่วนที่เราตีไปแล้ว

1. นำเม้าส์มา ลาก ส่วนที่เราจะยกเลิกเส้นตาราง

2. นำเม้าส์มาวางอยู่ในแถบที่เราลาก

3. คลิ๊กปุ่มขวาของเม้าส์เพื่อเข้าวิธีลัด

4. เครื่องจะปรากฏคำสั่งต่าง ๆ ให้เราลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง จัดรูปแบบเซลล์

5. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบเซลล์ ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ เส้นขอบ

6. ในช่อง เส้น , ลักษณะ ด้านขวา ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่มี

7. ด้านซ้ายในช่อง เส้นขอบ ให้คลิ๊กเส้นที่เราต้องการจะเอาออก

8. ด้านล่างคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง


การเปลี่ยนตัวอักษร ขนาด ลักษณะตัวอักษร สี

1. นำเม้าส์มาลากยังเซลล์ที่ต้องการจะเปลี่ยน

2. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่ 2 (แถบจัดรูปแบบ)

3. ช่องที่ 1 ที่มีคำว่า Cordia New ช่องนี้คือแบบอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนแบบอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังคำว่า Cordia New จากนั้นเลือกตัวอักษรที่เราต้องการ โดยต้องเลือกตัวอักษรที่มีคำว่า New หรือ UPC อยู่หลังแบบอักษร เพราะแบบอักษรนี้จะใช้ได้กับภาษาไทย

4. ช่องที่ 2 ที่มีตัวเลขเป็น 14 ช่องนี้คือ ขนาดของตัวอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนก็ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมสีดำ หลังเลข 14 แล้วเลือกขนาดได้ตามใจชอบ

5. ช่องที่ 3 จะเป็นตัวอักษร B ถ้าเราคลิ๊กลงไปจะได้ตัวอักษร หนาขึ้น ถ้าไม่เอา ให้คลิ๊กซ้ำลงไป


6. ช่องที่ 4 จะเป็นตัวอักษร I จะเป็นการทำตัวเอียง

7. ช่องที่ 5 จะเป็นตัวอักษร U จะเป็นการทำตัวขีดเส้นใต้

8. ช่องสุดท้าย จะเป็นตัวอักษร A จะเป็นการเลือกสีตัวอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังตัว A จะมีสีต่าง ๆ ให้เลือก ถ้าเราไม่เอาสีนั้นแล้วให้คลิ๊กที่คำว่า อัตโนมัติ

9. ช่องที่อยู่หน้าปุ่ม A ที่เป็นรูปกระป๋องสี คือการใส่สีพื้น ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังกระป๋องสี จะมีสีพื้นต่าง ๆ ให้เลือก แต่ถ้าเราเลือกไปแล้วจะไม่เอาสีพื้น ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่เติม

10. เมื่อเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว ให้นำเม้าส์คลิ๊กที่เซลล์ไหนก็ได้เพื่อยกเลิกแถบ


การคำนวณหาค่าต่าง ๆ

1. คลิ๊กที่เซลล์ที่เราจะเก็บคำตอบ

2. ด้านบนคลิ๊กที่ปุ่ม วางฟังก์ชั่น (อยู่ข้าง ๆ ปุ่มซิกม่าที่เป็นรูป fx)

3. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง วางฟังก์ชั่น

4. เลือกคำสั่งที่เราจะทำการคำนวณ

5. ด้านล่างคลิ๊กปุ่ม ตกลง

6. เครื่องจะขึ้นหน้าต่างเพื่อให้เราใส่กลุ่มเซลล์ที่เราต้องการจะทำการคำนวณ เช่น ถ้าเราต้องการหาค่าตั้งแต่ เซลล์ D3 ถึง เซลล์ D7 เราต้องพิมพ์ว่า D3:D7 ใช้เครื่องหมายคอลอนคั่น : จากนั้นด้านล่างคลิ๊กปุ่ม ตกลง เครื่องก็จะทำการคำนวณในเซลล์นั้นให้


คำสั่งที่ใช้ในการหาค่าต่าง ๆ

ต้องการหาค่าเฉลี่ย ใช้คำสั่ง AVERAGE

ต้องการหาค่าสูงสุด ใช้คำสั่ง MAX

ต้องการหาค่าต่ำสุด ใช้คำสั่ง MIN

ต้องการให้เครื่องตรวจสอบข้อมูล จริง กับ เท็จ ใช้คำสั่ง IF

ต้องการให้เครื่องเปลี่ยนเลขเป็นตัวอักษร ใช้คำสั่ง BAHTTEXT


การสร้างกราฟ (Graph) คือ การนำตัวเลข มาสร้างเป็นกราฟเพื่อสรุปเป็นแผนภูมิ

1. นำเม้าส์มาลากข้อมูลในแกน X เช่น ลากตั้งแต่เซลล์ B3 ถึง B7

2. นำเม้าส์มาลากข้อมูลในแกน Y เช่น ลากตั้งแต่เซลล์ D3 ถึง D7 ต้องกดปุ่ม Ctrl + ลากเม้าส์

3. ด้านบนที่แถบเครื่องมือที่ 1 ให้คลิ๊กปุ่ม ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ (ที่เป็นรูปกราฟแท่ง)

4. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ ขั้น ที่ 1 จาก 4 – ชนิดแผนภูมิ

5. เครื่องจะถามทั้งหมด 4 ขั้นตอน ในขั้นตอนที่ 1 นี้เป็นการให้เราเลือกชนิดของกราฟที่เราต้องการสร้าง โดยด้านซ้าย คือ ชนิดของกราฟ มีทั้งกราฟ คอลัมน์ , กราฟแท่ง , กราฟเส้น , กราฟวงกลม เราก็คลิ๊ก ชนิดของกราฟที่เราต้องการลงไป ส่วนด้านขวาเป็นการเลือกแบบของกราฟ ว่าเราอยากได้กราฟแบบไหน เราก็คลิ๊กลงไป จากนั้น ด้านล่าง คลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป เพื่อไปสู่ขั้นตอนที่ 2

6. ในขั้นตอนที่ 2 เครื่องจะสร้างกราฟชนิดที่เราต้องการไว้ ตามที่เราลากข้อมูลแกน X และ Y ซึ่งในหน้าต่างขั้นที่ 2 นี้เราไม่ต้องทำอะไรเลย ให้ลงไปคลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป ด้านล่างได้เลย

7. ในหน้าต่างขั้นตอนที่ 3 นี้ จะเป็นการใส่สิ่งที่เครื่องไม่ได้ทำมาให้คือ

a. ด้านบนยังไม่มีคำอธิบายกราฟ วิธีใส่ก็คือ ด้านซ้ายให้คลิ๊กที่ช่อง ชื่อแผนภูมิ จะมีเคอร์เซอร์ เราก็พิมพ์ลงไป เช่น กราฟแสดงเงินเดือน (เมื่อพิมพ์เสร็จนั่งสักพัก เครื่องจะไปใส่ในกราฟด้านขวาให้เราเอง โดยไม่ต้องกดปุ่ม Enter)

b. ในกราฟแต่ละแท่งเครื่องยังไม่ได้บอกค่าว่าแต่ละแท่งมีค่าเท่าไหร่ วิธีการให้เครื่องแสดงค่าออกมาคือ ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ ป้ายชื่อข้อมูล และด้านซ้าย คลิ๊กที่ช่อง แสดงค่า


เสร็จแล้วด้านล่าง ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป เพื่อไปยังขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนสุดท้าย

8. ในขั้นตอนที่ 4 ให้คลิ๊กที่คำว่า เป็นแผ่นงานใหม่ แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม เสร็จสิ้น เครื่องก็จะสร้างกราฟเสร็จเรียบร้อยตามที่เราต้องการ


การตกแต่งกราฟ

1. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีของแท่งกราฟ


a. คลิ๊กที่แท่งแรกของกราฟ (จะขึ้นจุดสี่เหลี่ยมสีดำ แต่จะขึ้นทุกแท่ง) ให้คลิ๊กที่แท่งแรกของกราฟอีกครั้งนึง (จะขึ้นจุดสี่เหลี่ยมสีดำ ที่แท่งแรกเท่านั้น)


b. ให้นำเม้าส์วางที่แท่งแรกเหมือนเดิม แล้ว ดับเบิ้ลคลิ๊ก


c. จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบจุดข้อมูล


d. คลิ๊กที่ช่องตารางสีที่เราต้องการจะเปลี่ยน


e. ด้านล่างคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง


f. จากนั้น ก็เลื่อนเม้าส์ไปวางแท่งที่ 2 แล้วดับเบิ้ลคลิ๊กได้เลย เปลี่ยนสีจนครบ


2. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีที่ด้านหลังของแท่ง


a. เลื่อนเม้าส์ไปวางที่ด้านหลังของแท่ง (จะมีคำขึ้นมาว่า ผนัง)


b. ดับเบิ้ลคลิ๊กสองที


c. จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบจุดข้อมูล ตรงนี้ถ้าเราอยากได้ สีผสมของเครื่องให้คลิ๊กที่ปุ่ม เติมลักษณะพิเศษ จะขึ้นหน้าต่าง การเติมลักษณะพิเศษ ขึ้นมาอีกหน้าต่าง จากนั้น ให้คลิ๊กที่คำว่า สีที่กำหนดไว้ ด้านขวาจะมีช่อง สีที่กำหนดไว้ เพิ่มขึ้นมา ในแถบจะมีคำว่า ก่อนอาทิตย์ตก แล้วด้านล่างจะมีสีตัวอย่างว่า ก่อนอาทิตย์ตก มีแบบไหนบ้าง ถ้ายังไม่ถูกใจ ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมด้านหลัง จะมีชื่อสีสำเร็จรูปต่าง ๆ เราก็คลิ๊กไป แล้วด้านล่าง จะแสดงสีของชื่อนั้น ถ้าเราถูกใจ ด้านขวาให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง เครื่องจะกลับมาที่หน้าต่าง แรก ให้เราคลิ๊กปุ่ม ตกลงด้านล่างอีกทีเครื่องก็จะใส่สีของผนังที่เราเลือกไว้


d. ถ้าเราต้องการจะเปลี่ยนสีของฐานของแท่ง ก็ทำเหมือนกัน คือ ให้เม้าส์ชี้ที่ด้านล่างระหว่างแท่ง เครื่องจะขึ้นคำว่า พื้น จากนั้นก็ดับเบิ้ลคลิ๊กทำตามขั้นตอนด้านบนอีกที


3. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีด้านนอกของกราฟ


a. ให้เลื่อนเม้าส์ไปวางตรงมุมบนขวาภายนอกของกราฟ จะขึ้นคำว่า พื้นที่แผนภูมิ


b. ดับเบิ้ลคลิ๊กสองที จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบพื้นที่แผนภูมิ


c. ลงมาคลิ๊กที่ปุ่ม เติมลักษณะพิเศษ จะขึ้นหน้าต่างซ้อนขึ้นมา ชื่อว่า เติมลักษณะพิเศษ


d. ด้านบน คลิ๊กที่หัวข้อ พื้นผิว เครื่องจะขึ้นพื้นผิวต่าง ๆ ให้เราเลือก เมื่อเลือกเสร็จแล้ว ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลงด้านขวามือ เครื่องจะกลับมาที่หน้าต่างแรก ด้านล่างให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลงอีกที
http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=2189759672010526154

จริยธรรมและความปลอดภัย

จริยธรรมและความปลอดภัย
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณา รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย ของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม
คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น “หลักของศีลธรรมใ นแต่ละวิชาชีพเฉพาะ”
“มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ” “ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูก และหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ผิด” หรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม
หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999)
R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O’Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)
1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล
2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ
3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ

การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)

ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน
การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไป มีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี
สิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม
การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล
การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams)
การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
การควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิดพลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O’Brien, 1999: 656)

การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls)

การควบคุมอินพุท
การควบคุมการประมวลผล
การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls)
การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls)
การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls)
การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls)
การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls)

การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ
การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
แผนการป้องกันการเสียหาย
ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems)
การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls)

ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)
การแปลงรหัส (Encryption)
กำแพงไฟ (Fire Walls)
การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)
การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)
การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls)



http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=2189759672010526154

การพัฒนาโปรแกรม

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: Computer programming) หรือเรียกให้สั้นลงว่า การเขียนโปรแกรม (อังกฤษ: Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) เป็นขั้นตอนการเขียน ทดสอบ และดูแลซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอร์สโค้ดนั้นจะเขียนด้วยภาษาโปรแกรม ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมต้องการความรู้ในหลายด้านด้วยกัน เกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการจะเขียน และอัลกอริทึมที่จะใช้ ซึ่งในวิศวกรรมซอฟต์แวร์นั้น การเขียนโปรแกรมถือเป็นเพียงขั้นหนึ่งในวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์

การเขียนโปรแกรมจะได้มาซึ่งซอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของ plain text ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะต้องผ่านการคอมไพล์ตัวซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เสียก่อนจึงจะได้เป็นโปรแกรมที่พร้อมใช้งาน

การเขียนโปรแกรมถือว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ของ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ วิศวกรรม เข้าด้วยกัน [1]

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
2 ภาษาโปรแกรม
3 ลิขสิทธิ์ทางปัญญา
4 สาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรม
5 ดูเพิ่ม
6 อ้างอิง


[แก้] ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมหรือพัฒนาโปรแกรม มีขั้นตอนโดยสังเขปดังนี้

วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ (Problem Analysis and Requirement Analysis)
กำหนดและคุณสมบัติของโปรแกรม (Specification)
การออกแบบ (Design)
การโค้ด (Coding)
การคอมไพล์ (Compilation)
การทดสอบ (Testing)
การจัดทำเอกสาร (Documentation)
การเชื่อมต่อ (Integration)
การบำรุงรักษา (Maintenance)
[แก้] ภาษาโปรแกรม
ภาษาโปรแกรมแต่ละภาษาจะมีลักษณะหรือรูปแบบการเขียนที่แตกต่างกัน การเลือกภาษาโปรแกรมหรือภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาเขียนโปรแกรมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่นนโยบายของบริษัท, ความเหมาะสมของโปรแกรมกับลักษณะงานที่จะถูกนำไปใช้, การเข้ากันได้กับโปรแกรมอื่น ๆ, หรืออาจเป็นความถนัดของแต่ละคน ภาษาโปรแกรมที่มีแนวโน้มในการนำมาเขียนมักเป็นภาษาที่มีคนที่สามารถเขียนได้ทันที หรือหากมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ภาษาอื่น เช่นต้องการเน้นประสิทธิภาพในการทำงานของโปรแกรม ก็อาจจำเป็นต้องหานักเขียนโปรแกรมขึ้นมาจำนวนหนึ่งซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในภาษาโปรแกรมที่ต้องการ และต้องมีคอมไพเลอร์ที่รองรับภาษาเหล่านั้นด้วย

[แก้] ลิขสิทธิ์ทางปัญญา
การเขียนโปรแกรม หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้พัฒนาหรือผู้เขียนโปรแกรมหรือบริษัทซอฟต์แวร์ ที่เป็นเจ้าของซอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โปรดดูรายละเอียดในเรื่อง ลิขสิทธิ์

[แก้] สาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรม
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิทยาการคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เพื่อธุรกิจ
การจัดการสารสนเทศ
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์
[แก้] ดูเพิ่ม
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=2189759672010526154
Extreme programming
นักเขียนโปรแกรม

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ดัชนีบทความ
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
วงจรการพัฒนาระบบ
วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
ทุกหน้า
หน้า 1 จาก 4
การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม

3. การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

- ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก

- ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

- ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

การพัฒนาระบบประกอบด้วย

1) กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ

- การปรับปรุงคุณภาพ

- การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน

- การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี

- การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว

2) บุคลากร (People)

3) วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ

4) เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศแล ะงบประมาณที่กำหนด

5) งบประมาณ (Budget)

6) ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)

7) การบริหารโครงการ (Project Management)



ทีมงานพัฒนาระบบ

การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล

1) คณะกรรมการ (Steering Committee)

2) ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)

3) ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)

4) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ

- ทักษะด้านเทคนิค

- ทักษะด้านการวิเคราะห์

- ทักษะดานการบริหารจัดการ

- ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร

5) ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค

- ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)

- โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

6) ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager)



http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=2189759672010526154

ระบบเลขฐานและตรรกศาสตร์

ระบบเลขฐานเเละตรรกศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553ระบบเลขฐาน

เลขฐาน หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่มีจำนวนหลัก (Digit) ตามชื่อของฐาน
นั้นๆเช่น เลขฐานสอง ฐานแปด และฐานสิบ ประกอบด้วยข้อมูลตัวเลขจำนวนสองหลัก (0-1) แปดหลัก (0-7) และสิบหลัก (0-9) ตามลำดับ ดังรูปในตารางที่ 1
ในระบบคอมพิวเตอร์มีการใช้ระบบเลขฐาน 4 แบบ ประกอบด้วย
1).เลขฐานสอง (Binary Number)
2).เลขฐานแปด (Octal Number)
3).เลขฐานสิบ (Decimal Number)
4).เลขฐานสิบหก (Hexadecimal Number)

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนตัวเลข ของเลขฐานต่างๆ



1).เลขฐานสอง

คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสองหลัก ( 0 และ 1) เป็นเลขฐานเดียวที่เข้ากันได้กับ Hardware ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะการใช้เลขฐานอื่น จะสร้างความยุ่งยากให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก เช่น เลขฐานสิบมีตัวเลขที่เป็นสถานะที่ต่างกันถึง 10 ตัว ในขณะที่ระบบไฟฟ้ามีเพียง 2 สถานะ ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆมีเพียงสถานะเดียวเท่านั้น แต่ละหลักของเลขฐานสอง เรียกว่า Binary Digit (BIT)

2).เลขฐานแปด

เลขฐานแปด มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 3 หลัก แทนด้วยเลข
ฐานแปด 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 6 บิท แทนด้วยเลขฐานแปด 2 บิท การใช้เลขฐานแปดแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง

3).เลขฐานสิบ

คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสิบหลัก (0,1,2,…,9) เป็นเลขฐานที่มนุษย์คุ้นเคยและใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด ตัวเลขที่มีจำนวนมากกว่า 9 ให้ใช้ 10 ซึ่งเป็นการกลับไปใช้เลข 1 และ 0 อีก เพียงแต่ค่าของ 1 เปลี่ยนไปเป็น 10 เท่าของตัวมันเอง เช่น 333 (สามร้อยสามสิบสาม) แม้จะใช้ตัวเลข 3 ทั้งหมด แต่ตำแหน่งของตัวเลขย่อมมีความหมายตามตำแหน่งของแต่ละหลักนั้น กล่าวคือ หลักหน่วยน้อยกว่าหลักสิบ 10 เท่า หลักสิบน้อยกว่าหลักร้อย 10 เท่า ตามลำดับ

4).เลขฐานสิบหก

เลขฐานสิบหก มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 4 หลัก แทนด้วย
เลขฐานสิบหก 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 8 บิทแทนด้วยเลขฐานสิบหก 2 บิท การใช้เลขฐานสิบหกแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง
การเปลี่ยนฐานเลข (Base Number Conversion)

เนื่องจากตัวเลขในแต่ละฐานมี ค่าคงที่เฉพาะ ในแต่ละหลักของตัวเอง เช่นตัวเลข 100 มีค่าเท่ากับหนึ่งร้อยในระบบเลขฐานสิบ แต่ตัวเลข 100 ในระบบ
เลขฐานสอง (อ่านว่า หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 4 เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่สามารถนำค่าของเลขฐานใดๆ ไปคำนวณเปรียบเทียบ กับเลขฐานอื่นได้โดยตรง
เมื่อต้องการคำนวณหรือเปรียบเทียบตัวเลข (ประมวลผล) จำเป็นต้องเปลี่ยนฐานเลขเหล่านั้นให้เป็นฐานเดียวกันก่อน การเปลี่ยนฐานเลขสามารถกระทำได้
หลายวิธี ในหน่วยเรียนนี้จะใช้วิธีที่สะดวกที่สุดวิธีหนึ่ง ดังนี้
ก่อนเปลี่ยนฐานเลขใดๆ จำเป็นต้องทราบค่าคง ที่เฉพาะในแต่ละหลักของเลขฐานสองดังนี้


ตาราง แสดงค่าคงที่เฉพาะในแต่ละหลักของเลขฐานสอง


จากตาราง พบว่าค่าคงที่เฉพาะ จะมีค่าเป็น 2 เท่า จากขวาไปซ้าย
การเปลี่ยนเลขฐานสอง เป็นเลขฐานสิบ
ให้นำค่าคงที่เฉพาะที่ตรงกับเลข 1 ของฐานสองมารวมกัน เช่นจำนวน (11010)2ประกอบด้วยเลข “1” จำนวน 3 ตัว
เมื่อนำค่าคงที่เฉพาะที่ตรงกับเลข 1 มารวมกัน ทำให้ได้จำนวนในฐานสิบเป็น 16+8+2 = 26 ดังนี้



นอกจากนี้การเปลี่ยนเลขฐานสองให้เป็นเลขฐานสิบยังสามารถทำได้โดย นำตัวเลขในแต่ละตำแหน่งคูณด้วยค่าประจำตำแหน่งแล้วนำมารวมกัน

ค่าประจำตำแหน่งของเลขฐานสองเริ่มตั้งแต่ 20,21,22,…
ตัวอย่างเช่น
(1011)2 = (1x23)+(0x22)+(1x21)+(1x20)
= (1x8)+(0x4)+(1x2)+(1x1)
= 8+0+2+1
= 11

การเปลี่ยนเลขฐานสิบ เป็นเลขฐานสอง

ให้พิจารณานำค่าคงที่เฉพาะหลักใดๆมารวมกัน เพื่อให้ได้ค่าเท่ากับเลขฐานสิบที่กำหนด จากนั้นเติมเลข “1“ ณ ตำแหน่งที่นำตัวเลขมารวมนั้น เช่น (26)10จะต้องใช้ค่าคงที่เฉพาะรวมกัน 3 หลัก (16+8+2) ดังนั้นจึงเติม “1” ณ ตำแหน่ง

16,8 และ 2 ตามลำดับ ส่วนตำแหน่งที่เหลือให้เติม “0”



นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนค่าจากเลขฐานสิบให้เป็นฐานสอง โดยการหารเลขฐานสิบด้วยสองไปเรื่อยๆจะได้เศษจากการหาร คือ เลขฐานสอง ที่ต้องการ ตำแหน่งของเศษที่เกิดจากการหารก็คือกำลังของเลขฐานสอง นั่นคือเศษที่ได้จากการหารครั้งแรกจะคูณด้วย 20 เศษที่ได้จากการหารด้วย 2 ครั้งที่ 2 จะคูณด้วย 2 1เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น

การเปลี่ยนระหว่างเลขฐานอื่น (ระหว่างฐานสอง ฐานแปด ฐานสิบ และฐานสิบหก)

ในที่นี้จะได้อธิบายถึงการเปลี่ยนฐานเลข ระหว่างเลขฐานสอง ฐานแปด ฐานสิบ และฐานสิบหก ซึ่งใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป โดยมีหลักการเบื้องต้น 3 ประการ ดังนี้

(a) เปลี่ยนเลขฐานจากโจทย์ ไปสู่เลขฐานสองก่อน (ใช้เลขฐานสองเป็นตัวเชื่อมไปสู่เลข ฐานอื่น)

(b) เลขฐานแปด 1 หลัก ประกอบด้วยเลขฐานสอง 3 หลัก คือ (111) 2
(เนื่องจากเลขฐานแปด ต้องมีค่าไม่เกิน 7)

(c) เลขฐานสิบหก 1 หลัก ประกอบด้วยเลขฐานสอง 4 หลัก คือ (1111) 2

1 1 1 1

(เนื่องจากเลขฐานสิบหก ต้องมีค่าไม่เกิน 15)


ตัวอย่างที่ 7 (75) 8 = (?)10
ตัวอย่างที่ 7 (75) 8 = (?)10

-- ใช้หลักการ (a) เปลี่ยนเลขฐานแปด เป็นเลขฐานสอง ดังนี้

-- แยก (75) 8 ออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 3 หลัก ตามหลักการข้อ (b) โดยแยก 7 และ 5 ออกจากกัน ดังนี้

-- เปลี่ยนเลขฐานสองที่ได้ เป็นเลขฐานสิบดังนี้ (111101)2 = (?)10

ตัวอย่างที่ 8 (4C)16 = (?)10
-- แยก (4C) 16 ออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 4 หลัก ตามหลักการข้อ (c) ดังนี้


ทำให้ได้จำนวนเลขในรูปของเลขฐานสองเท่ากับ (1001100)2
-- เปลี่ยนเลขฐานสองที่ได้ เป็นเลขฐานสิบดังนี้ (1001100)2 = (?)10


(1001100) 2 = (64+8+4) 10 = (76) 10
\ (4C)16 = (76) 10




การแปลงเลขเศษส่วนในระบบเลขฐานสิบเป็นฐานสอง

การแปลงจำนวนเต็มใช้หลักการหารด้วย 2 (หรือการหาผลบวกของค่าประจำหลักก็ได้) สำหรับการแปลงเศษส่วนใช้วิธีการคูณด้วย 2 (คูณในระบบฐานสิบ) เพื่อหาค่าที่เป็นจำนวนเต็มหรือตัวทด (ตรงกันข้ามกับการแปลงจำนวนเต็มซึ่งใช้การหารและหาเศษที่เหลือ) ค่าตัวทดที่เกิดขึ้นในการคูณแต่ละครั้งให้เก็บไว้เป็นผลลัพธ์ นำส่วนที่เป็นเศษส่วนมาทำการคูณด้วยสองต่อไป จนได้ตัวเลขครบตามจำนวนที่ต้องการ ผู้ศึกษาจงสังเกตด้วยว่าการแปลงเลขเศษส่วนไปสู่ระบบฐานสองบางจำนวนไม่อาจแทนได้อย่างถูกต้อง ปรากฎการณ์นี้เป็นที่มาแห่งความผิดพลาดและคลาดเคลื่อนในการคำนวณเลขในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์


ตัวอย่างที่ 9 จงแปลงจำนวน 159.356 ให้เป็นจำนวนในระบบเลขฐานสองกำหนดผลลัพธ์ไม่เกิน 8 หลัก

-- จำนวนที่กำหนดให้มีสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นจำนวนเต็มได้แก่
159 แปลงเป็นจำนวนในระบบฐานสองได้ 159 = (10100001)2
-- เศษส่วนคือ .356 ทำการแปลงไปสู่ระบบเลขฐานสองด้วยการคูณด้วย
2 เก็บผลลัพธ์จากตัวแรกไปยังตัวสุดท้าย ดังนี้



ผลลัพธ์คือ ตัวทดที่ได้จากการคูณตามลำดับตั้งแต่ครั้งที่ 1 ไปจนถึงครั้งสุดท้าย (ตามลูกศร) โดยให้เขียนจุดแสดงเศษข้างหน้า
159.356 ป (10100001.01011) 2

ตัวอย่างนี้ แสดงเศษส่วนไว้เพียง 5 ตำแหน่ง ให้สังเกตว่าค่า ( .01011) 2 ไม่เรียกว่าเป็น
ค่าหลังจุดทศนิยม เพราะว่าจุดทศนิยมใช้สำหรับจำนวนในระบบเลขฐานสิบเท่านั้น เศษในระบบฐานสองข้างต้นนี้มีค่าไม่เท่ากับ .356 แต่เป็นเพียงค่าประมาณ(ที่น้อยกว่า)เท่านั้น

การแปลงจำนวนจากฐานหนึ่งไปยังอีกฐานหนึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดค่าคลาดเคลื่อน (error)
ในการคำนวณต่างๆซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมาก

ตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์พื้นฐาน

1.คุณสมบัติของตรรกศาสตร์พื้นฐาน
1.1ประพจน์ (Propostion)
คือ ข้อความที่เป็นจริงหรือเป็นเท็จเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ตัวอย่างที่เป็นประพจน์
P : 15 + 5 = 20
Q : วันนี้อากาศหนาว
R : สัปดาห์หนึ่งมี 8 วัน
S : คนทุกคนเป็นอมตะ
ตัวอย่างที่ไม่เป็นประพจน์
ช่วยเปิดไฟให้หน่อย
ห้ามรบกวน
การแทนประพจน์จะใช้สัญลักษณ์ p, q, r … เพื่อแทนประพจน์ที่แตกต่างกัน ข้อความที่มีกริยาเพียงตัวเดียวและเป็นประพจน์ จะเรียกว่าประพจน์เบื้องต้น

1.2. การเชื่อมประพจน์
โดยปกติเมื่อกล่าวถึงข้อความหรือประโยคนั้นมักจะมีกริยามากกว่าหนึ่งตัว แสดงว่าได้นำ
ประโยคมาเชื่อมกันมากว่าหนึ่งประโยค ดังนั้นถ้านำประพจน์มาเชื่อมกันก็จะได้ประพจน์ใหม่ซึ่งสามารถบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ตัวเชื่อมประพจน์มีอยู่ 5 ตัว และตัวเชื่อมที่ใช้กันมากคือ
“และ” “หรือ” “ไม่” ที่เหลืออีกสองตัวคือ “ถ้า…แล้ว…” และ “…ก็ต่อเมื่อ…” เมื่อนำประพจน์เชื่อมด้วยตัวเชื่อม และ ,หรือ, ถ้า…แล้ว, …ก็ต่อเมื่อ
โดยที่ถ้า p และ q แทนประพจน์ จะเขียน



ถ้ากำหนดให้ T แทนค่าความจริงของประพจน์ที่เป็นจริง
F แทนค่าความจริงของประพจน์ที่เป็นเท็จ
และ p, q แทนประพจน์ใดๆ ที่ยังไม่ได้ระบุข้อความหรือแทนค่าข้อความลงไป
ประพจน์ p ู q จะเรียกว่าข้อความร่วม (conjugate statement) และจะสามารถเขียนตารางค่าความจริงของประพจน์ p ู q ได้ดังนี้


จากตารางจะพบว่า ค่าความจริงของประพจน์ p ู q จะเป็นจริงถ้าประพจน์ทั้งสองเป็นจริงนอกนั้นจะเป็นเท็จ


ประพจน์ p ฺ q เรียกว่าข้อความเลือก (disjunctive statement) เป็นข้อความที่เป็นจริงถ้า p หรือ q เป็นอย่างน้อยที่สุดหนึ่งประพจน์ แต่จะไม่เป็นจริงเมื่อทั้งสองประพจน์เป็นเท็จ ตารางค่าความจริงของ p ฺ q สามารถเขียนได้ดังนี้


ประพจน์ ~p เรียกว่านิเสธ (negation) p หมายถึงไม่เป็นจริงสำหรับ p จะเป็นจริงเมื่อ p เป็นเท็จและจะเป็นเท็จเมื่อ p เป็นจริง ตารางค่าความจริงของ ~p เป็นดังนี้


ประพจน์ p ฎ q เรียกว่าประโยคเงื่อนไขหรือข้อความแจงเหตุสู่ผล (conditional statement) ประพจน์ p เรียกว่าเหตุตัวเงื่อนและ q เป็นผลสรุป
เช่น p : นุ่นไปเที่ยวนอกบ้าน
q : คุณพ่อโทรศัพท์ตาม
ดังนั้น p ฎ q : ถ้านุ่นไปเที่ยวนอกบ้านแล้วคุณพ่อโทรศัพท์ตาม
จากการตรวจสอบเงื่อนไขนี้จะพบว่าประพจน์นี้จะเป็นเท็จกรณีเดียวคือ นุ่นไปเที่ยวนอกบ้านแต่คุณพ่อไม่โทรศัพท์ตาม ดังนั้นจะสามารถแสดงตารางค่าความจริงของประพจน์ p ฎ q ได้ดังนี้


ประพจน์ p ซq เรียกว่าประโยคเงื่อนไขสองทาง (biconditional statement) คือ ประพจน์ที่มีความหมายเหมือนกับ (p ฎ q) ู (q ฎ p) เนื่องจาก (p ฎ q) และ (q ฎ p) เชื่อมด้วยคำว่า “และ” ดังนั้น p ซq จะมีค่าความจริงเป็นจริงต่อเมื่อประพจน์ p และประพจน์ q มีค่าความจริงเหมือนกัน ดังตารางต่อไปนี้



จากตารางค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อมทั้ง 5จะพบว่า
1. ~ p มีค่าความจริงตรงกันข้ามกับค่าความเป็นจริงของ p
2. p ู q เป็น T กรณีเดียวคือกรณีที่ทั้ง p และ q เป็น T
3. p ฺ q เป็น F กรณีเดียวคือกรณีที่ทั้ง p และ q เป็น F
4. p ฎ q เป็น F กรณีเดียวคือกรณีที่ทั้ง p เป็น T และ q เป็น F
5. p ซ q เป็น T เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเหมือนกัน


1.3. สัจนิรันดร์ (Tautology)

หมายถึงประพจน์ผสมที่มีค่าความจริงเป็นจริงทุกกรณี ไม่ว่าจะประกอบขึ้นจากประพจน์ย่อยที่มีค่าความจริงเป็นอย่างไร อาทิเช่น


การทดสอบว่าประพจน์ใดเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่ ทำได้ 2 วิธีคือ
1. ใช้ตารางค่าความจริง เพื่อดูว่ามีค่าความจริงเป็นจริงทุกกรณีจริงหรือไม่
2. ใช้การทำ Contradiction คือการบังคับให้ประพจน์นั้นเป็นเท็จ ถ้าสามารถทำให้ประพจน์นั้นเป็นเท็จได้สำเร็จ แสดงว่าประพจน์นั้นไม่เป็นสัจนิรันดร์ แต่ถ้าไม่สามารถบังคับให้ประพจน์นั้นเป็นเท็จได้ ประพจน์นั้นจะเป็นสัจนิรันดร์ทันที

1.4. กฎของการแทนที่ กฎของการแทนที่เป็นกฎที่ใช้แทนที่กันได้เนื่องจากเป็นข้อความที่สมมูลกัน มีดังต่อไปนี้


ทฤษฎีพื้นฐานของพีhttp://www.blogger.com/post-create.g?blogID=2189759672010526154ชคณิตบูลีน

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การบำรุงรักษา

การบำรุงรักษา (maintenance) เป็นการซ่อมแซมหรือบำรุงเครื่องจักรหรือเครื่องมือ ที่หมดอายุการใช้งานหรือชำรุด

เนื้อหา [ซ่อน]
1 บทนำ
2 การบำรุงรักษาแบบแก้ไข
3 การบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน
4 การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition-based maintenance: CBM)
5 การบำรุงรักษาเชิงรุก
6 อ้างอิง


[แก้] บทนำ
ความเสียหายในระบบอุตสาหกรรมมีกระทบสำคัญในด้านธุรกิจกำไร เครื่องจักรที่ถูกเพิกเฉยปล่อยนิ่งไว้จะทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ การทำงานไม่ได้ถูกทำให้ดีที่สุด (optimized) ทำให้สัดส่วนของค่าใช้จ่ายไปสู่ผลผลิตติดลบ การซ่อมแซมอย่างรวดเร็วในอุปกรณ์เครื่องจักรเป็นสิ่งสำคัญในการประสบความสำเร็จทางธุรกิจ โดยเฉพาะในสภาวการณ์ปัจจุบันที่มีการแข่งขันของมากขึ้น การลงทุนในเครื่องจักรที่สูงขึ้น จึงจำเป็นที่เราต้องทำการบำรุงรักษาให้เครื่องจักรให้มีความพร้อมในการใช้งานอยู่เสมอและมีอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้นานที่สุด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการผลิตให้ได้ และจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึง กลยุทธ์ในงานบำรุงรักษา เพื่อจะได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรแต่ละประเภท กระบวนการซ่อมแซมเครื่องจักรหลังจากเกิดความเสียหายแล้วเรียกว่า การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Corrective Maintenance) ซึ่งมีอยู่ในทุกแห่งในกลุ่มอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามเมื่ออุปกรณ์เสียหาย นอกเหนือจากค่าใช้จ่าย ช่วงเวลาที่บำรุงรักษาก็เป็นสิ่งสำคัญ บ่อยครั้งที่กระบวนการผลิตไม่ต้องการให้เครื่องจักรมีปัญหา ทั้งในแง่ของผลิตภัณฑ์และความเสียหายของเครื่องจักร เพราะจะเกิดผลเสียต่อการผลิตตามมา ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนหยุดเครื่องเพื่อตรวจสอบเพื่อป้องกันความเสียหาย จึงส่งผลให้ธุรกิจได้เห็นถึงความสำคัญในกระบวนการซ่อมบำรุงรักษาเพื่อป้องกันความเสียหาย หรือที่เรียกว่า การบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน (Preventative Maintenance) เครื่องจักรที่เข้าสู่ PM จะถูกตรวจสอบเพื่อที่จะป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น การตรวจสอบนั้นๆ จะมีช่วงตารางเวลาที่แน่นอนขึ้นกับพฤติกรรมอุปกรณ์นั้นๆ รวมทั้งข้อมูลที่เก็บไว้เป็นประวัติซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบได้ โดยถ้ามีค่าในเชิงลบขึ้นมาก็ให้สังเกตว่าอุปกรณ์เริ่มจะมีปัญญาแล้ว ปัจจุบัน CM และ PM ได้ถูกนำมาใช้เป็นทศวรรษ ซึ่งมีส่วนสำคัญดังจะกล่าวต่อไป

[แก้] การบำรุงรักษาแบบแก้ไข
การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Corrective Maintenance: CM) หรือบ้างก็เรียกว่า Breakdown Maintenance หรือ Run to Failure เป็นวิธีการธรรมดาที่สุดและมีข้อจำกัดที่เห็นได้ชัด และในทุกๆอุตสาหกรรมยังใช้กลยุทธ์การบำรุงรักษาแบบนี้อยู่ โดยจะดำเนินการก็ต่อเมื่ออุปกรณ์เสียหายจนทำให้ต้องหยุดเครื่องหรือหยุดทำ การผลิต หรือเกิดข้อขัดข้องเสียหายในขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงานอยู่โดยไม่รู้มาก่อนว่าจะเกิดการเสียหายขึ้นและเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ต้องหยุดเครื่องจักรเพื่อทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียโดย ส่วนใหญ่จะใช้กับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ไม่มีผลกระทบกับสายการผลิตถ้าหากเกิดการเสียหายขึ้น เช่น หลอดไฟแสงสว่าง อุปกรณ์สำนักงาน ข้อดีของการบำรุงรักษาแบบแก้ไขคือ ได้ใช้ประโยชน์จากอายุการใช้งานของเครื่องจักรอย่างคุ้มค่า ไม่ต้องเสียกำลังคนและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา แต่เราไม่สามารถวางแผนและกำหนดเวลาในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนได้บางครั้งจำเป็นต้องรีบทำจึงทำให้คุณภาพของงานออกมาไม่ค่อยดีและเมื่อเกิดการเสียหายแล้วมักค่อนข้างรุนแรงการซ่อมแซมจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า อย่างไรก็ตาม CM จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น บางครั้งถ้าอุปกรณ์บางส่วนต้องทำการซ่อมแซม ค่าใช้จ่ายสำหรับการเปลี่ยนอะไหล่อย่างเดียวก็มีมากมายแล้ว ยังไม่รวมถึงประเด็นด้าน ความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม (Safety Health and Environment: SHE) อันสืบเนื่องจากอุปกรณ์ไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ

[แก้] การบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน
การบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจาก CM ได้มีความพยายามที่จะดูแลรักษาอุปกรณ์ก่อนที่จะเสียหาย โดยการทำเช่นนี้ก็เพื่อวางเป้าหมายไม่ให้เกิดความเสียหายอันอาจจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและความเสี่ยง ซึ่งก็คือการบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน บ้างก็เรียกว่า การบำรุงรักษาตามแผน (Planned maintenance Calendar-based maintenance หรือ Historical maintenance) PM เป็นการวางแผนโดยกำหนดระยะเวลาการตรวจสอบและการบำรุงรักษาเครื่องจักรรวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆเพื่อป้องกันความเสียหาย หรือวางแผนป้องกันไว้ล่วงหน้าซึ่งจะไม่ทำให้ขบวนการผลิตต้องหยุดฉุกเฉิน สิ่งที่สำคัญของการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันคือการประเมินอายุการใช้งานของเครื่องจักรและทำการบำรุงรักษาก่อนเครื่องจักรเสียหาย โดยทั่วไประยะเวลาทำ PM ดังกล่าวสามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้จากคู่มือของเครื่องจักรจากผู้ผลิตหรือจากประวัติของเครื่องจักรที่ผ่านมา เช่น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง, ไส้กรองในรถยนต์ เราเปลี่ยนตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนดตัวอย่างนี้ถือว่าเป็นการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันทว่าในทางปฏิบัติเราไม่สามารถที่จะดูแลอุปกรณ์ทุกชนิดตลอดเวลาได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีการวางแผนและตัดสินใจว่าอุปกรณ์ชนิดใดที่ควรจะทำ PM โดยมากมักจะทำการตรวจสอบตามรอบ (interval) ที่ค่อนข้างจะมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ทว่าปัจจัยอื่นๆ ก็สามารถนำมาใช้ร่วมพิจารณาในการวางแผน PM ได้ เช่น พฤติการการทำงานของเครื่องจักร ประโยชน์ของการบำรุงรักษาแบบวิธีนี้คือเราสามารถกำหนดระยะเวลาในการบำรุงรักษาได้สามารถวางแผนกำลังคนได้เตรียมชิ้นส่วนเครื่องจักรได้และลดการเสียหายของเครื่องจักรลงแต่ข้อเสียคือเราต้องเสียค้าใช้จ่ายในการจัดเก็บชิ้นส่วนเครื่องจักรนอกจากนี้บางครั้งยังเกิดการเสียหายของเครื่องจักรโดยที่ไม่ได้คาดการณ์เกิดขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ผลของการทำ PM ก็ยังไม่เป็นที่รับประกันแน่นอนว่าอุปกรณ์เครื่องจักรจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าจะทำตามแผนการบำรุงรักษาแล้ว จึงทำให้มีกลยุทธ์การบำรุงรักษาตามสภาพขึ้น

[แก้] การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition-based maintenance: CBM)
การบำรุงรักษาตามสภาพ หรือบ้างก็เรียกว่า Predictive Maintenance เป็นวิธีบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องจักรอย่างเหมาะสมตามสภาพและเวลา กลยุทธ์การบำรุงรักษาตามสภาพจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานอยู่ที่ข้อมูลปัจจุบันและอดีตย้อนหลังเพื่อที่จะกำหนดความสำคัญในการบำรุงรักษาให้ดีที่สุด โดยอาศัยสัญญาณเตือนจากเครื่องจักรซึ่งโดยทั่วไปเครื่องจักรจะให้สัญญาณเตือนก่อนที่เครื่องจักรจะเสียหายเช่น ความร้อน, เสียง,การสั่นสะเทือน เศษผงโลหะต่างๆ ถ้าหากเราสามารถตรวจสอบสันญาณเตือนจากเครื่องจักรได้เราก็สามารถที่จะกำหนดการบำรุงรักษาที่จำเป็นก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดความเสียหายได้ทำให้เราลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้เช่นการเปลี่ยนยางรถยนต์โดยดูตามสภาพของดอกยางว่าสึกมากน้อยแค่ไหนแล้วจึงค่อยตัดสินใจเปลี่ยน สิ่งที่สำคัญของการบำรุงรักษาแบบตามสภาพคือเราต้องเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับชนิดของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ และต้องกำหนดความถี่ในการตรวจสอบให้เพียงพอที่จะสามารถตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นได้ การตรวจสภาพรวมของเครื่องจักรจะใช้ระบบตรวจวัดซึ่งไว้ประเมินหาสภาพปัจจุบันของเครื่องจักรและใช้เพื่อทำการวางแผนการบำรุงรักษาเท่าที่จำเป็นเป็น ดังนั้นกลยุทธ์ CBM จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัดรวมทั้งเครื่องมือพิเศษสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อไว้ใช้สำหรับพนักงานบำรุงรักษาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์และอะไหล่สำรองน้อยที่สุด เวลาลงเครื่องและเวลาที่ใช้สำหรับบำรุงรักษาดีที่สุด อย่างไรก็ตาม CBM ก็ยังมีประเด็นที่ท้าทายบางประการ อย่างแรกที่สำคัญที่สุด ในการเริ่มใช้กลยุทธ์ CBM ค่อนข้างที่จะมีรายจ่ายสูง เพราะต้อง

การอุปกรณ์ตรวจวัดเพิ่มพิเศษสำหรับเครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเครื่องจักรที่มีความซับซ้อน ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนว่าอุปกรณ์ชนิดใดที่มีความสำคัญที่จะลงทุนติดตั้งเครื่องมือตรวจวัด บางองค์กร กลยุทธ์ CBM ในขั้นแรกได้พุ่งเป้าไปที่การตรวจวัดความสั่นสะเทือน (vibration) สำหรับเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่หมุนด้วยความเร็วสูงเท่านั้น ขั้นที่สอง การนำ CBM มาประยุกต์ใช้จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาอย่างมาก อาจจะครอบคลุมทั้งองค์กรบำรุงรักษา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเช่นนี้ค่อนข้างจะกระทำลำบาก รวมไปถึงประเด็นด้านเทคนิคบางประการ แม้ว่าอุปกรณ์บางชนิดสามารถตรวจวัดค่าต่างๆ ออกมา อาทิเช่น ค่าความสั่นสะเทือน อุณหภูมิ หรือ ความดัน แต่ค่าเหล่านี้ถ้าหากจะนำมาแปลผลออกมาเป็นสภาพเครื่องก็ไม่ใช่ง่ายนักประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากกลยุทธ์ CBM คือลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ลดการเสียหายของเครื่องจักรลง ใช้ประโยชน์อายุการใช้งานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์มากขึ้นเมื่อเทียบกับการบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรแต่เราจำเป็นที่จะต้องลงทุนในการจัดหาเครื่องมือหรือจ้างผู้รับเหมาจากภายนอกเข้ามาตรวจสอบซึ่งเครื่องมือบางตัวค่าใช้จ่ายจะค่อนขางสูงมากอาจไม่คุ้มต่อการลงทุนอาจต้องจ้างผู้รับเหมาภายนอกเข้ามาตรวจสอบเป็นครั้งคราว จะทำให้เราไม่ต้องแบกรับภาระเรื่องต้นทุนคงที่ นอกจากนี้หลังจากซื้อเครื่องมือมาแล้วเราอาจต้องลงทุนเกี่ยวกับการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อให้มีความสามารถในการใช้เครื่องมือซึ่งค่าใช้จ่ายอาจอยู่ที่ประมาณ 30% ของเครื่องมือเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสภาพเครื่องจักรมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดผู้เขียนจะขอกล่าวถึงบางกลุ่มที่ใช้กันค่อนข้างแพร่หลายในบ้านเราเท่านั้นการตรวจสภาพเครื่องจักรจากการสั่นสะเทือน ด้วยการใช้ Vibration Analysis การตรวจสอบสภาพเครื่องจักรจากการสั่นสะเทือนเป็น การตรวจสอบความผิดปกติ และความเสียหายของเครื่องจักรเชิงกล เป็นส่วนใหญ่โดยมีเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน (Vibration Analyzer) เป็นตัวเก็บข้อมูลและแปลงเป็นข้อมูลทางความถี่ซึ่งเราสามารถ ทราบถึงปัญหาของเครื่องจักรได้จากความถี่ที่เราเก็บได้ดั้งนั้นคนที่ จะสามารถอ่านข้อมูลทางความถี่และประเมินผลได้ต้อง มีความเข้าใจเรื่องของการวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน ถึงจะสามารถประเมินผลระดับความรุนแรงของการเสียหายและหาสาเหตุของการเสียหายได้เพื่อจะนำข้อมูลไปวางแผนการซ่อมและจัด เตรียมอะไหล่ต่อไปการตรวจสภาพเครื่องจักรจากอุณหภูมิ ด้วยการใช้ Infrared Thermography กล้องถ่ายภาพทางความร้อนเป็นเทคโนโลยีที่ใช้บอกสภาพ ของอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและทางกลโดยไม่ต้องสัมผัสเครื่องจักรที่ทำ ให้เราเห็นสภาพของเครื่องจักร ระบุปัญหาโดยการตรวจสอบ ความผิดปกติของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงทำให้เราสามารถ แก้ไขปัญหาได้ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้จะมีประโยชน์มากในการนำ ไปตรวจสอบอุปกรณ์ทางไฟฟ้าในปัจจุบันนี้มีการนำไป ใช้งานอย่างแพร่หลายมากในหลายๆอุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมอาหาร, ปิโตรเคมีคอล , ยานยนต์การตรวจสภาพเครื่องจักรด้วยสายตา ด้วยการใช้ Stroboscope เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสภาพเครื่องจักรจากการมองเห็นขณะเครื่องจักรทำงานโดยอาศัยการปล่อยแสงที่เท่ากับความเร็วรอบของเครื่อง จักรจึงทำให้เราสามารถมองเห็นภาพสะเหมือนหยุดนิ่งเราจึงสามารถตรวจสอบสภาพเครื่องจักรหรือชิ้นส่วนหมุนได้ในขณะทำงาน ใช้ในการตรวจสอบสภาพสายพาน, ใบพัดลม , คับปลิ้ง และชิ้นส่วนหมุนอื่นๆอีกจุดประสงค์หนึ่งของ Stroboscope คือใช้ในการวัดความ เร็วรอบของเครื่องจักรการตรวจสภาพเครื่องจักรจากการฟัง ด้วยการใช้ Ultrasonic ใช้ในการตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาการรั่วซึมตามข้อต่อ,ท่อ, วาล์ว และใช้ในการบอก สภาพของเครื่องจักรหมุนที่เกิดปัญหาจากการเสียดสีของโลหะได้ ซึ่งในขณะนี้ต้นทุนของพลังงานมีค่าสูงขึ้นเราจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของพลังงานการตรวจสภาพเครื่องจักรจากสารหล่อลื่น ด้วยการใช้ Oil Analysis การวิเคราะห์น้ำมัน (Oil Analysis) สามารถบอกถึงสมรรถนะหรือสภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์จาก การตรวจสอบสภาพการสึกหรอ, การเสื่อมสภาพของ น้ำมันหล่อลื่นและสิ่งสกปรกปนเปื้อนต่างๆโดยจะทำการเก็บตัวอย่างของน้ำมันที่จะตรวจสอบไปตรวจสอบหาคุณสมบัติของสารหล่อลื่นและจะทำการวิเคราะห์เศษโลหะ เพื่อดูหาสาเหตุของการเสียหายและระดับความรุนแรงประโยชน์ที่ได้รับคือเราเปลี่ยนน้ำมันตามสภาพของน้ำมันใช้น้ำมันได้อย่างคุ้มค่าและมีผลทำให้เครื่องจักรมีอายุการใช้งานมากขึ้น

โดยสรุปแล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรในปัจจุบันมีหลายเทคโนโลยีคงเป็นไปไม่ได้ที่มีเพียงเทคโนโลยีเดียวที่จะสามารถตรวจสอบปัญหาของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ได้ทั้งหมดแนวโน้มในอนาคตจะนำหลายๆเทคโนโลยีเข้ามาช่วยกันในการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบปัญหาและเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจว่าจะบำรุงรักษาเครื่องจักรในช่วงใดเพื่อความเหมาะสมที่สุด

[แก้] การบำรุงรักษาเชิงรุก
การบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive Maintenance) บ้างก็เรียกว่า Design out Maintenance หรือ Precision Maintenance คือการแก้ปัญหาที่สาเหตุหลักที่ทำให้เครื่องจักรเสียหาย เราทำการแก้ไขปัญหาล่วงหน้าเพื่อลดโอกาสการชำรุดเสียหายของเครื่องจักรซึ่งจะทำให้เครื่องจักรมีอายุยาวนานขึ้นเมื่อถูกนำไปใช้งาน อีกการบำรุงรักษาที่กล่าวมาข้างต้นทั้งสามวิธีไม่สามารถทำให้อายุการใช้งานของเครื่องจักรเพิ่มขึ้นเพียงแต่หามาตรการมาใช้เพื่อให้ เครื่องจักรใช้งานได้นานที่สุดตามที่ผู้ผลิตได้ออกแบบไว้ ข้อดีของการบำรุงรักษาแบบเชิงรุก อายุการณ์ใช้งานของเครื่องจักรเพิ่มขึ้น, ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงลดการเสียหายของเครื่องจักรแต่เราต้องเสียกำลังคนในการรวบรวมข้อมูลและทำการแก้ไข ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตที่เก็บข้อมูลจากลูกค้าและทำการปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์ เช่นเมาส์ที่เราใช้กับคอมพิวเตอร์แต่ก่อนจะเสียหายที่ลูกกลิ้งบ่อยมากปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาไปใช้เป็นแบบใช้แสง (Optical) ซึ่งอายุการใช้งานนานขึ้นเราไม่ต้องเสียเวลามาทำความสะอาดที่ลูกกลิ้งอีกปัจจัยที่เราต้องนำมาพิจารณาในการตัดสินใจการเลือกกลยุทธ์การบำรุงรักษาคือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งเมื่อเครื่องจักรหยุด, ไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าทันเวลาได้, ระยะเวลาที่สูญเสียไป ในการซ่อมแซมและรอคอยชิ้นส่วนที่จะใช้ ในกรณีที่ไม่มีของในสโตร์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าแรงคนงาน, ราคาของชิ้นส่วน เราต้องนำข้อมูลดังกล่าวมาพิจารณาและตัดสินใจในการเลือกใช้กลยุทธ์การบำรุงรักษา จากที่กล่าวถึงกลยุทธ์ในงานบำรุงรักษามาทั้งหมดคงไม่มีกลยุทธ์ใดดีที่สุดแต่สิ่งที่สำคัญคือการเลือกใช้ให้เหมาะกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์แต่ละชนิดและโอกาส นั้นคือการวางแผนการบำรุงรักษา (Maintenance Plan) ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการกำหนดกลยุทธ์ในงานบำรุงรักษา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2

การวิเคราะห์ปัญหา

แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาการบริหารคนในองค์กร หัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรต่างๆไม่ได้อยู่ที่ประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือวิธีการที่นำมาใช้ในการพัฒนาเท่านั้นแต่ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรได้พัฒนาบุคลากรถูกที่ถูกจุดหรือไม่ ถ้าจะพูดง่ายๆแบบภาษาชาวบ้านก็คือ เกาถูกที่คันหรือไม่ หลายองค์กรได้นำเอาเครื่องมือการบริหารจัดการที่ทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามาใช้ แต่สุดท้ายปัญหาการบริหารคนก็ยังคงมีอยู่เหมือนกัน เพราะจัดยาไม่ตรงกับโรคหรือไม่ก็ไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคคืออะไร

มีหลายองค์กรสอบถามผมว่า เราจะมีแนวทางหรือวิธีการอย่างไรบ้าง ที่จะสำรวจ ค้นหา และประเมินปัญหาในการบริหารคนขององค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับวิธีการที่หลายองค์กรนิยมใช้ในการประเมินปัญหาคือ การพูดคุยสอบถาม การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม การใช้กล่องรับความคิดเห็น ฯลฯ แต่สุดท้าย ผู้บริหารองค์กรก็ยังรู้สึกว่า ปัญหาที่ได้มามันไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง เพราะมันไม่ตรงกับความรู้สึกของตัวผู้บริหารเอง หรือไม่ก็พอนำไปแก้ไขปัญหาแล้ว ปัญหาเรื่องคนก็ยังไม่จางหายไป

ผมคิดว่าการที่หลายองค์กรเริ่มหันกลับมามองที่การค้นหาปัญหา มากกว่าการหาเครื่องมือมาแก้ไขปัญหา น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีขององค์กรในบ้านเรา ในปัจจุบันและอนาคต เพราะถ้าตราบใดที่เรายังไม่รู้ว่า ปัญหาที่แท้จริงในการบริหารคนของเราคืออะไร ต่อให้ใช้เงินลงทุนไปมากเท่าไหร่ ต่อให้ใช้เครื่องมือการบริการจัดการคนสมัยใหม่อย่างไร ก็คงจะไม่ได้ผล แถมยังเสียเงินเสียเวลาไปแบบไม่คุ้มค่าอีกต่างหาก

จากการที่ผมได้ให้คำแนะนำองค์กรต่างๆ ไป รวมถึงได้มีโอกาสเห็นแนวทางการค้นหาปัญหาขององค์กรบางองค์กร จึงอยากจะนำเสนอทางเลือกในการค้นหาปัญหาด้านการบริหารคน ดังนี้

กำหนดกลุ่มของปัญหาที่ต้องการศึกษาวิเคราะห์
เนื่องจากปัญหาของคนมีหลายรูปแบบ ดังนั้น ถ้าต้องการให้ได้ปัญหาที่แท้จริง จึงควรจะแบ่งกลุ่มปัญหาของคนในองค์กรออกเป็นกลุ่ม เช่น ปัญหาเกี่ยวกับบรรยากาศในการทำงาน ปัญหาเกี่ยวกับผลตอบแทน ปัญหาเกี่ยวกับความผูกพันต่องานหรือองค์กร ปัญหาด้านการทำงานร่วมกัน ปัญหาชีวิตส่วนตัวครอบครัว ฯลฯ การแบ่งกลุ่มปัญหาจะช่วยให้การศึกษาปัญหาชัดเจนมากขึ้น เพราะถ้าเราศึกษาปัญหาโดยภาพรวม ทำให้ไม่สามารถแยกแยะลักษณะและสาเหตุของปัญหาได้อย่างชัดเจน เลือกเครื่องมือในการค้นหาปัญหา
เมื่อเราแบ่งกลุ่มของปัญหาได้แล้ว ให้ลองหาเครื่องมือในการค้นหาปัญหาว่ามีเครื่องมืออะไรบ้าง แต่ละเครื่องมือ มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรบ้าง เช่น การสำรวจอาจจะเหมาะสำหรับการค้นหาภาพรวมของปัญหา แต่อาจจะไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก อาจจะดีตรงที่ได้ข้อมูลละเอียด แต่ถ้าผู้สัมภาษณ์ไม่เหมาะสม ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ถูกสัมภาษณ์ อาจจะไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง สุดท้าย วิธีการที่เหมาะสมอาจจะเป็นแบบผสมกันก็ได้ เช่น ช่วงแรกอาจจะใช้วิธีการสำรวจ เมื่อได้ปัญหาในภาพรวมมาแล้ว ก็ค่อยมาใช้วิธีการเจาะลงรายละเอียดของปัญหาแต่ละปัญหาย่อยอีกครั้งหนึ่ง การตรวจสอบความถูกต้องของปัญหาที่ค้นหาหรือสำรวจมา
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ปัญหาที่เราค้นหามาได้นั้น สะท้อนปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงเปลือกนอกของปัญหา จึงควรมีการตรวจสอบความถูกต้องและน่าเชื่อถือของปัญหา อาจจะใช้บุคคลภายนอก เข้ามาช่วยดำเนินการสำรวจปัญหาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อยืนยันว่าปัญหาที่เราได้มานั้นถูกต้องจริงหรือไม่ หรืออาจจะใช้วิธีการศึกษาเชิงการวิจัย ที่มีการตั้งสมมติฐานของปัญหานั้นๆ ตามที่เราได้ศึกษามาในเบื้องต้น และทดสอบสมมติฐานคร่าวๆ โดยการศึกษาเชิงการวิจัย แต่คงไม่ต้องลงลึก ที่ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัยอะไรมากมายนักนะครับ การประเมินระดับของปัญหา
เมื่อแน่ใจว่า ปัญหาในการบริหารคนขององค์กรถูกต้อง และสะท้อนความเป็นจริงแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การประเมินระดับของปัญหาว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด ปัญหานั้นเกิดขึ้นมานานหรือยัง ปัญหานั้นๆ ส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อองค์กร อะไรบ้าง อย่างไร ระดับไหน นอกจากนี้ อาจจะต้องมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ประเมินได้ด้วยว่า ปัญหาควรจะดำเนินการแก้ไข หรือพัฒนาเร่งด่วนกว่ากัน ปัญหาไหนที่ต้องแก้อีกปัญหาหนึ่งก่อน จึงจะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาได้ เช่น การที่จะพัฒนาความสามารถของบุคลากรได้ จะต้องแก้ไขปัญหาชีวิตส่วนตัวของบุคลากร ที่ส่งผลกระทบต่องานให้ได้ก่อน จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาหรือแผนพัฒนาบุคลากร
เมื่อรับทราบปัญหาเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องนำเอาปัญหาทั้งหมด มาจัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนา แผนที่ว่านี้อาจจะจัดทำเอง หรืออาจจะลองให้ที่ปรึกษาจากภายนอก เข้ามานำเสนอแผนก็ได้ ส่วนเราจะเลือกใช้บริการหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ อย่างน้อย เราจะได้มั่นใจได้ว่า แผนที่เราจัดทำขึ้นมานั้นถูกต้อง (ตรงกับแผนที่บุคคลภายนอกนำเสนอ) การดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาบุคลากร
เมื่อเราได้ปัญหาที่แท้จริงแล้ว จัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนาเรียบร้อยแล้ว บางปัญหาเราสามารถแก้ไขได้ ด้วยการตัดสินใจเชิงการบริหารจัดการ เช่น ปัญหาเรื่องผลตอบแทน ปัญหาเรื่องระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงาน สถานที่ทำงาน ฯลฯ แต่บางปัญหา อาจจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เช่น การพัฒนาฝึกอบรมต่างๆ และถ้าจะให้ได้ผล ควรจะกำหนดขอบเขตของผู้ที่จะต้องพัฒนาฝึกอบรมให้ชัดเจน กลุ่มนี้จะต้องพัฒนาเรื่องการวางแผนงาน กลุ่มนี้จะต้องเน้นเรื่องการคิดเชิงระบบ อีกกลุ่มอาจจะต้องเน้นเรื่องการประสานงาน / การทำงานเป็นทีม ไม่ควรกำหนดเป็นระดับ เช่น พนักงานระดับนี้ (ทุกคน) จะต้องเข้าอบรมหลักสูตรนั้นหลักสูตรนี้ เพราะจะทำให้ปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไข หรือคนที่ไม่เก่งก็ยังคงไม่เก่งต่อไป ส่วนคนที่เก่งอยู่แล้วก็เก่งมากยิ่งขึ้น สรุป แนวทางในการสำรวจ ค้นหา วิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาบุคลากรขององค์กร ควรจะทำอย่างเป็นระบบ และเริ่มให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนแรกให้มาก เพราะถ้ากำหนดปัญหาผิดพลาด หรือไม่ถูกต้องแล้ว จะทำให้กระบวนการต่อๆ มา ไม่มีประโยชน์อะไร และการแก้ไขปัญหาอะไรก็ตาม ควรจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ ผลที่คาดหวัง ตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมาย ให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนา ถ้ายังกำหนดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ขอแนะนำว่า อย่าเพิ่งดำเนินการเลยครับ เดี๋ยวจะเสียเงินเสียเวลาเหมือนในอดีตที่ผ่านมาอีกนะครับ

สุดท้ายนี้หวังว่า ทุกองค์กรจะมุ่งเน้นการสำรวจปัญหาการบริหารคนขององค์กร ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนะครับ


ที่มา : http://www.e-hrit.com

การวิเคราะห์ปัญหา

แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาการบริหารคนในองค์กร หัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรต่างๆไม่ได้อยู่ที่ประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือวิธีการที่นำมาใช้ในการพัฒนาเท่านั้นแต่ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรได้พัฒนาบุคลากรถูกที่ถูกจุดหรือไม่ ถ้าจะพูดง่ายๆแบบภาษาชาวบ้านก็คือ เกาถูกที่คันหรือไม่ หลายองค์กรได้นำเอาเครื่องมือการบริหารจัดการที่ทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามาใช้ แต่สุดท้ายปัญหาการบริหารคนก็ยังคงมีอยู่เหมือนกัน เพราะจัดยาไม่ตรงกับโรคหรือไม่ก็ไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคคืออะไร

มีหลายองค์กรสอบถามผมว่า เราจะมีแนวทางหรือวิธีการอย่างไรบ้าง ที่จะสำรวจ ค้นหา และประเมินปัญหาในการบริหารคนขององค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับวิธีการที่หลายองค์กรนิยมใช้ในการประเมินปัญหาคือ การพูดคุยสอบถาม การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม การใช้กล่องรับความคิดเห็น ฯลฯ แต่สุดท้าย ผู้บริหารองค์กรก็ยังรู้สึกว่า ปัญหาที่ได้มามันไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง เพราะมันไม่ตรงกับความรู้สึกของตัวผู้บริหารเอง หรือไม่ก็พอนำไปแก้ไขปัญหาแล้ว ปัญหาเรื่องคนก็ยังไม่จางหายไป

ผมคิดว่าการที่หลายองค์กรเริ่มหันกลับมามองที่การค้นหาปัญหา มากกว่าการหาเครื่องมือมาแก้ไขปัญหา น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีขององค์กรในบ้านเรา ในปัจจุบันและอนาคต เพราะถ้าตราบใดที่เรายังไม่รู้ว่า ปัญหาที่แท้จริงในการบริหารคนของเราคืออะไร ต่อให้ใช้เงินลงทุนไปมากเท่าไหร่ ต่อให้ใช้เครื่องมือการบริการจัดการคนสมัยใหม่อย่างไร ก็คงจะไม่ได้ผล แถมยังเสียเงินเสียเวลาไปแบบไม่คุ้มค่าอีกต่างหาก

จากการที่ผมได้ให้คำแนะนำองค์กรต่างๆ ไป รวมถึงได้มีโอกาสเห็นแนวทางการค้นหาปัญหาขององค์กรบางองค์กร จึงอยากจะนำเสนอทางเลือกในการค้นหาปัญหาด้านการบริหารคน ดังนี้

กำหนดกลุ่มของปัญหาที่ต้องการศึกษาวิเคราะห์
เนื่องจากปัญหาของคนมีหลายรูปแบบ ดังนั้น ถ้าต้องการให้ได้ปัญหาที่แท้จริง จึงควรจะแบ่งกลุ่มปัญหาของคนในองค์กรออกเป็นกลุ่ม เช่น ปัญหาเกี่ยวกับบรรยากาศในการทำงาน ปัญหาเกี่ยวกับผลตอบแทน ปัญหาเกี่ยวกับความผูกพันต่องานหรือองค์กร ปัญหาด้านการทำงานร่วมกัน ปัญหาชีวิตส่วนตัวครอบครัว ฯลฯ การแบ่งกลุ่มปัญหาจะช่วยให้การศึกษาปัญหาชัดเจนมากขึ้น เพราะถ้าเราศึกษาปัญหาโดยภาพรวม ทำให้ไม่สามารถแยกแยะลักษณะและสาเหตุของปัญหาได้อย่างชัดเจน เลือกเครื่องมือในการค้นหาปัญหา
เมื่อเราแบ่งกลุ่มของปัญหาได้แล้ว ให้ลองหาเครื่องมือในการค้นหาปัญหาว่ามีเครื่องมืออะไรบ้าง แต่ละเครื่องมือ มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรบ้าง เช่น การสำรวจอาจจะเหมาะสำหรับการค้นหาภาพรวมของปัญหา แต่อาจจะไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก อาจจะดีตรงที่ได้ข้อมูลละเอียด แต่ถ้าผู้สัมภาษณ์ไม่เหมาะสม ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ถูกสัมภาษณ์ อาจจะไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง สุดท้าย วิธีการที่เหมาะสมอาจจะเป็นแบบผสมกันก็ได้ เช่น ช่วงแรกอาจจะใช้วิธีการสำรวจ เมื่อได้ปัญหาในภาพรวมมาแล้ว ก็ค่อยมาใช้วิธีการเจาะลงรายละเอียดของปัญหาแต่ละปัญหาย่อยอีกครั้งหนึ่ง การตรวจสอบความถูกต้องของปัญหาที่ค้นหาหรือสำรวจมา
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ปัญหาที่เราค้นหามาได้นั้น สะท้อนปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงเปลือกนอกของปัญหา จึงควรมีการตรวจสอบความถูกต้องและน่าเชื่อถือของปัญหา อาจจะใช้บุคคลภายนอก เข้ามาช่วยดำเนินการสำรวจปัญหาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อยืนยันว่าปัญหาที่เราได้มานั้นถูกต้องจริงหรือไม่ หรืออาจจะใช้วิธีการศึกษาเชิงการวิจัย ที่มีการตั้งสมมติฐานของปัญหานั้นๆ ตามที่เราได้ศึกษามาในเบื้องต้น และทดสอบสมมติฐานคร่าวๆ โดยการศึกษาเชิงการวิจัย แต่คงไม่ต้องลงลึก ที่ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัยอะไรมากมายนักนะครับ การประเมินระดับของปัญหา
เมื่อแน่ใจว่า ปัญหาในการบริหารคนขององค์กรถูกต้อง และสะท้อนความเป็นจริงแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การประเมินระดับของปัญหาว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด ปัญหานั้นเกิดขึ้นมานานหรือยัง ปัญหานั้นๆ ส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อองค์กร อะไรบ้าง อย่างไร ระดับไหน นอกจากนี้ อาจจะต้องมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ประเมินได้ด้วยว่า ปัญหาควรจะดำเนินการแก้ไข หรือพัฒนาเร่งด่วนกว่ากัน ปัญหาไหนที่ต้องแก้อีกปัญหาหนึ่งก่อน จึงจะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาได้ เช่น การที่จะพัฒนาความสามารถของบุคลากรได้ จะต้องแก้ไขปัญหาชีวิตส่วนตัวของบุคลากร ที่ส่งผลกระทบต่องานให้ได้ก่อน จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาหรือแผนพัฒนาบุคลากร
เมื่อรับทราบปัญหาเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องนำเอาปัญหาทั้งหมด มาจัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนา แผนที่ว่านี้อาจจะจัดทำเอง หรืออาจจะลองให้ที่ปรึกษาจากภายนอก เข้ามานำเสนอแผนก็ได้ ส่วนเราจะเลือกใช้บริการหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ อย่างน้อย เราจะได้มั่นใจได้ว่า แผนที่เราจัดทำขึ้นมานั้นถูกต้อง (ตรงกับแผนที่บุคคลภายนอกนำเสนอ) การดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาบุคลากร
เมื่อเราได้ปัญหาที่แท้จริงแล้ว จัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนาเรียบร้อยแล้ว บางปัญหาเราสามารถแก้ไขได้ ด้วยการตัดสินใจเชิงการบริหารจัดการ เช่น ปัญหาเรื่องผลตอบแทน ปัญหาเรื่องระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงาน สถานที่ทำงาน ฯลฯ แต่บางปัญหา อาจจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เช่น การพัฒนาฝึกอบรมต่างๆ และถ้าจะให้ได้ผล ควรจะกำหนดขอบเขตของผู้ที่จะต้องพัฒนาฝึกอบรมให้ชัดเจน กลุ่มนี้จะต้องพัฒนาเรื่องการวางแผนงาน กลุ่มนี้จะต้องเน้นเรื่องการคิดเชิงระบบ อีกกลุ่มอาจจะต้องเน้นเรื่องการประสานงาน / การทำงานเป็นทีม ไม่ควรกำหนดเป็นระดับ เช่น พนักงานระดับนี้ (ทุกคน) จะต้องเข้าอบรมหลักสูตรนั้นหลักสูตรนี้ เพราะจะทำให้ปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไข หรือคนที่ไม่เก่งก็ยังคงไม่เก่งต่อไป ส่วนคนที่เก่งอยู่แล้วก็เก่งมากยิ่งขึ้น สรุป แนวทางในการสำรวจ ค้นหา วิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาบุคลากรขององค์กร ควรจะทำอย่างเป็นระบบ และเริ่มให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนแรกให้มาก เพราะถ้ากำหนดปัญหาผิดพลาด หรือไม่ถูกต้องแล้ว จะทำให้กระบวนการต่อๆ มา ไม่มีประโยชน์อะไร และการแก้ไขปัญหาอะไรก็ตาม ควรจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ ผลที่คาดหวัง ตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมาย ให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนา ถ้ายังกำหนดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ขอแนะนำว่า อย่าเพิ่งดำเนินการเลยครับ เดี๋ยวจะเสียเงินเสียเวลาเหมือนในอดีตที่ผ่านมาอีกนะครับ

สุดท้ายนี้หวังว่า ทุกองค์กรจะมุ่งเน้นการสำรวจปัญหาการบริหารคนขององค์กร ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนะครับ


ที่มา : http://www.e-hrit.com

การวิเคราะห์ปัญหา

แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาการบริหารคนในองค์กร หัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรต่างๆไม่ได้อยู่ที่ประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือวิธีการที่นำมาใช้ในการพัฒนาเท่านั้นแต่ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรได้พัฒนาบุคลากรถูกที่ถูกจุดหรือไม่ ถ้าจะพูดง่ายๆแบบภาษาชาวบ้านก็คือ เกาถูกที่คันหรือไม่ หลายองค์กรได้นำเอาเครื่องมือการบริหารจัดการที่ทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามาใช้ แต่สุดท้ายปัญหาการบริหารคนก็ยังคงมีอยู่เหมือนกัน เพราะจัดยาไม่ตรงกับโรคหรือไม่ก็ไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคคืออะไร

มีหลายองค์กรสอบถามผมว่า เราจะมีแนวทางหรือวิธีการอย่างไรบ้าง ที่จะสำรวจ ค้นหา และประเมินปัญหาในการบริหารคนขององค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับวิธีการที่หลายองค์กรนิยมใช้ในการประเมินปัญหาคือ การพูดคุยสอบถาม การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม การใช้กล่องรับความคิดเห็น ฯลฯ แต่สุดท้าย ผู้บริหารองค์กรก็ยังรู้สึกว่า ปัญหาที่ได้มามันไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง เพราะมันไม่ตรงกับความรู้สึกของตัวผู้บริหารเอง หรือไม่ก็พอนำไปแก้ไขปัญหาแล้ว ปัญหาเรื่องคนก็ยังไม่จางหายไป

ผมคิดว่าการที่หลายองค์กรเริ่มหันกลับมามองที่การค้นหาปัญหา มากกว่าการหาเครื่องมือมาแก้ไขปัญหา น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีขององค์กรในบ้านเรา ในปัจจุบันและอนาคต เพราะถ้าตราบใดที่เรายังไม่รู้ว่า ปัญหาที่แท้จริงในการบริหารคนของเราคืออะไร ต่อให้ใช้เงินลงทุนไปมากเท่าไหร่ ต่อให้ใช้เครื่องมือการบริการจัดการคนสมัยใหม่อย่างไร ก็คงจะไม่ได้ผล แถมยังเสียเงินเสียเวลาไปแบบไม่คุ้มค่าอีกต่างหาก

จากการที่ผมได้ให้คำแนะนำองค์กรต่างๆ ไป รวมถึงได้มีโอกาสเห็นแนวทางการค้นหาปัญหาขององค์กรบางองค์กร จึงอยากจะนำเสนอทางเลือกในการค้นหาปัญหาด้านการบริหารคน ดังนี้

กำหนดกลุ่มของปัญหาที่ต้องการศึกษาวิเคราะห์
เนื่องจากปัญหาของคนมีหลายรูปแบบ ดังนั้น ถ้าต้องการให้ได้ปัญหาที่แท้จริง จึงควรจะแบ่งกลุ่มปัญหาของคนในองค์กรออกเป็นกลุ่ม เช่น ปัญหาเกี่ยวกับบรรยากาศในการทำงาน ปัญหาเกี่ยวกับผลตอบแทน ปัญหาเกี่ยวกับความผูกพันต่องานหรือองค์กร ปัญหาด้านการทำงานร่วมกัน ปัญหาชีวิตส่วนตัวครอบครัว ฯลฯ การแบ่งกลุ่มปัญหาจะช่วยให้การศึกษาปัญหาชัดเจนมากขึ้น เพราะถ้าเราศึกษาปัญหาโดยภาพรวม ทำให้ไม่สามารถแยกแยะลักษณะและสาเหตุของปัญหาได้อย่างชัดเจน เลือกเครื่องมือในการค้นหาปัญหา
เมื่อเราแบ่งกลุ่มของปัญหาได้แล้ว ให้ลองหาเครื่องมือในการค้นหาปัญหาว่ามีเครื่องมืออะไรบ้าง แต่ละเครื่องมือ มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรบ้าง เช่น การสำรวจอาจจะเหมาะสำหรับการค้นหาภาพรวมของปัญหา แต่อาจจะไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก อาจจะดีตรงที่ได้ข้อมูลละเอียด แต่ถ้าผู้สัมภาษณ์ไม่เหมาะสม ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ถูกสัมภาษณ์ อาจจะไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง สุดท้าย วิธีการที่เหมาะสมอาจจะเป็นแบบผสมกันก็ได้ เช่น ช่วงแรกอาจจะใช้วิธีการสำรวจ เมื่อได้ปัญหาในภาพรวมมาแล้ว ก็ค่อยมาใช้วิธีการเจาะลงรายละเอียดของปัญหาแต่ละปัญหาย่อยอีกครั้งหนึ่ง การตรวจสอบความถูกต้องของปัญหาที่ค้นหาหรือสำรวจมา
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ปัญหาที่เราค้นหามาได้นั้น สะท้อนปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงเปลือกนอกของปัญหา จึงควรมีการตรวจสอบความถูกต้องและน่าเชื่อถือของปัญหา อาจจะใช้บุคคลภายนอก เข้ามาช่วยดำเนินการสำรวจปัญหาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อยืนยันว่าปัญหาที่เราได้มานั้นถูกต้องจริงหรือไม่ หรืออาจจะใช้วิธีการศึกษาเชิงการวิจัย ที่มีการตั้งสมมติฐานของปัญหานั้นๆ ตามที่เราได้ศึกษามาในเบื้องต้น และทดสอบสมมติฐานคร่าวๆ โดยการศึกษาเชิงการวิจัย แต่คงไม่ต้องลงลึก ที่ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัยอะไรมากมายนักนะครับ การประเมินระดับของปัญหา
เมื่อแน่ใจว่า ปัญหาในการบริหารคนขององค์กรถูกต้อง และสะท้อนความเป็นจริงแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การประเมินระดับของปัญหาว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด ปัญหานั้นเกิดขึ้นมานานหรือยัง ปัญหานั้นๆ ส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อองค์กร อะไรบ้าง อย่างไร ระดับไหน นอกจากนี้ อาจจะต้องมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ประเมินได้ด้วยว่า ปัญหาควรจะดำเนินการแก้ไข หรือพัฒนาเร่งด่วนกว่ากัน ปัญหาไหนที่ต้องแก้อีกปัญหาหนึ่งก่อน จึงจะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาได้ เช่น การที่จะพัฒนาความสามารถของบุคลากรได้ จะต้องแก้ไขปัญหาชีวิตส่วนตัวของบุคลากร ที่ส่งผลกระทบต่องานให้ได้ก่อน จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาหรือแผนพัฒนาบุคลากร
เมื่อรับทราบปัญหาเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องนำเอาปัญหาทั้งหมด มาจัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนา แผนที่ว่านี้อาจจะจัดทำเอง หรืออาจจะลองให้ที่ปรึกษาจากภายนอก เข้ามานำเสนอแผนก็ได้ ส่วนเราจะเลือกใช้บริการหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ อย่างน้อย เราจะได้มั่นใจได้ว่า แผนที่เราจัดทำขึ้นมานั้นถูกต้อง (ตรงกับแผนที่บุคคลภายนอกนำเสนอ) การดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาบุคลากร
เมื่อเราได้ปัญหาที่แท้จริงแล้ว จัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนาเรียบร้อยแล้ว บางปัญหาเราสามารถแก้ไขได้ ด้วยการตัดสินใจเชิงการบริหารจัดการ เช่น ปัญหาเรื่องผลตอบแทน ปัญหาเรื่องระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงาน สถานที่ทำงาน ฯลฯ แต่บางปัญหา อาจจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เช่น การพัฒนาฝึกอบรมต่างๆ และถ้าจะให้ได้ผล ควรจะกำหนดขอบเขตของผู้ที่จะต้องพัฒนาฝึกอบรมให้ชัดเจน กลุ่มนี้จะต้องพัฒนาเรื่องการวางแผนงาน กลุ่มนี้จะต้องเน้นเรื่องการคิดเชิงระบบ อีกกลุ่มอาจจะต้องเน้นเรื่องการประสานงาน / การทำงานเป็นทีม ไม่ควรกำหนดเป็นระดับ เช่น พนักงานระดับนี้ (ทุกคน) จะต้องเข้าอบรมหลักสูตรนั้นหลักสูตรนี้ เพราะจะทำให้ปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไข หรือคนที่ไม่เก่งก็ยังคงไม่เก่งต่อไป ส่วนคนที่เก่งอยู่แล้วก็เก่งมากยิ่งขึ้น สรุป แนวทางในการสำรวจ ค้นหา วิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาบุคลากรขององค์กร ควรจะทำอย่างเป็นระบบ และเริ่มให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนแรกให้มาก เพราะถ้ากำหนดปัญหาผิดพลาด หรือไม่ถูกต้องแล้ว จะทำให้กระบวนการต่อๆ มา ไม่มีประโยชน์อะไร และการแก้ไขปัญหาอะไรก็ตาม ควรจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ ผลที่คาดหวัง ตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมาย ให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนา ถ้ายังกำหนดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ขอแนะนำว่า อย่าเพิ่งดำเนินการเลยครับ เดี๋ยวจะเสียเงินเสียเวลาเหมือนในอดีตที่ผ่านมาอีกนะครับ

สุดท้ายนี้หวังว่า ทุกองค์กรจะมุ่งเน้นการสำรวจปัญหาการบริหารคนขององค์กร ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนะครับ


ที่มา : http://www.e-hrit.com
ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม

จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล

โดย ดร. จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ



ปฐมเหตุแห่งการนำเสนอบทความนี้มาจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ) ที่ กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้มีการจัดระบบจูงใจ ให้คนทำดี ได้ดี มีรางวัลตอบแทน เป็นการพิจารณาให้ความดีความชอบของข้าราชการ ประจำปี ที่ทำงานด้านส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมของสถานศึกษา จึงต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นว่างานคุณธรรม ศีลธรรมคืออะไร และจะเกี่ยวข้องกับบุคลากร 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารโครงการ กลุ่มจัดการเรียนการสอน และกลุ่มจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

นอกจากนี้ คำว่า คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ธรรมาภิบาล และสมรรถนะ มักมีผู้นำไปใช้ในความหมายที่แตกต่าง สับสน และไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริง ดังนั้นการทำความเข้าใจตั้งแต่ รากศัพท์ ความหมายและประโยชน์ในการนำไปใช้ จะช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้ดี

เป้าหมายปลายทาง

คุณธรรม (Moral) ศีลธรรม (Moral) จริยธรรม (Ethics)และ จรรยาบรรณ (Code of Conduct)มีเป้าหมายใช้เพื่อการควบคุมตนเอง และส่งผลต่อ พฤติกรรมของบุคคลนั้น ส่วนธรรมาภิบาล (Good Governance) และ ขีดสมรรถนะ (Competency) ใช้เพื่อเป็นกลไกควบคุม โครงสร้าง ระบบ และกระบวนการส่งผลต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กร

คุณธรรม (Moral / Virtue)

“คุณธรรม” คือ คุณ + ธรรมะ คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ

สังคม ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี

คุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี

1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ

2. คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น



จริยธรรม (Ethics)



“จริยธรรม” = จริย + ธรรมะ คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง

ก่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ

จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม

1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร

3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม

ศีลธรรม (Moral)



1. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ

2. หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ



“ธรรมาภิบาล” (Good Governance)

ธรรมาภิบาล คือ ธรรมะ + อภิบาล หมายถึง ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน

สัญญา (กฎ กติกา มารยาท) ที่ ร่วมกันทำ เป็นธรรม โปร่งใส รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ

การจัดการปกครอง การบริหารปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System) ซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate)
ธรรมาภิบาล มักครอบคลุมประเด็น ดังนี้
- การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation)

- นิติธรรม (Rule of law)

- ความโปร่งใส (Transparency)

- การตอบสนอง (Responsiveness)

- การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented)

- ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity)

- ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)

- ภาระรับผิดชอบ (Accountability

ทศพิธราชธรรม (Virtues of the King)

จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน

ทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ข้อ มีดังนี้

- ทาน คือ การให้ การเสียสละ การให้น้ำใจ

- ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ

- บริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม

- ความซื่อตรง คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต

- ความอ่อนโยน คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส

- ความเพียร คือ ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน

- ความไม่โกรธ คือ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล

- ความไม่เบียดเบียน คือ การไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

- ความอดทน คือ การรักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย การอดทนต่อสิ่งทั้งปวง

- ความยุติธรรม คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก





จรรยาบรรณ (Codes of Conduct) (Professional Ethics)

จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม

1. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

2. หลักความประพฤติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ

จรรยาบรรณวิชาชีพ (Code of Ethics )

n จรรยาบรรณเกิดขึ้นเพื่อ *มุ่งให้คนในวิชาชีพมีประสิทธิภาพ* ให้เป็นคนดีในการบริการวิชาชีพ
*ให้คนในวิชาชีพมีเกียรติศักดิ์ศรีที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ

n จรรยาบรรณ มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกอาชีพ ทุกสถาบัน และหน่วยงาน เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติ ปฏิบัติด้วยความดีงาม

จรรยาบรรณวิชาชีพครู(Code of Ethics of Teaching Profession)

ความหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ

n ความสำคัญจรรยาบรรณวิชาชีพครูจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ ๓ ประการ คือ

n ๑. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ

n ๒. รักษามาตรฐานวิชาชีพ

n ๓. พัฒนาวิชาชีพ

แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539

n ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

n ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

n ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

n ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์

n ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

n ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ

n ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

n ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

n ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย



จรรยาบรรณนักเรียนนักศึกษา 10ประการ

*พึงหาโอกาสเรียนรู้ ให้เข้าใจใช้เหตุผลโดยเร็วที่สุดตามระดับวัย

*พึงรับทุกอย่างด้วยเหตุผล พึงรับพิจารณาความคิดอย่างมีเหตุผลถึงแม้จะยังไม่เห็นด้วย เคารพความคิดผู้อื่นโดยยึดถือการประนีประนอม และหาทางสายกลาง

* การเรียนไม่ใช่เป็นการกอบโกย เอาเปรียบผู้อื่น

* ให้ถือว่าสังคมโรงเรียน/สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริง

*สร้างสังคมในโรงเรียน/สถาบันการศึกษา ในอุดมการณ์ปรับปรุงให้ทันสมัยทันเหตุการณ์เสมอ

*สุจริตในการทำการบ้านและในการสอบ

*ถือว่าเกียรติอยู่เหนือผลประโยชน์ใดๆ

* ฝึกน้ำใจนักกีฬาในการแข่งขันทุกประเภท

*ให้เกียรติคอาจารย์รูและเพื่อนเสมอ

* ถือว่าสิทธิจะต้องแลกเปลี่ยนกับหน้าที่และความรับผิดชอบเสมอ



ขีดสมรรถนะ (Competency)

ขีดสมรรถนะ คือ ความรู้และทักษะที่จำเป็นขั้นพื้นฐานของการปฎิบัติงานหนึ่งๆ

ขีดสมรรถนะ ที่มีความจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่

n เข้าใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

n คิด/วิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม (วางแผนผังเชิงยุทธศาสตร์และมีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน/วัดผลงานได้)

n สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างบรรลุผล และบริหารการเปลี่ยนแปลงได้

n ป้องกัน/ควบคุมความเสี่ยง

n มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการทำงาน

n มีจริยธรรมและความซื่อสัตย์

สมรรถนะงานสายงานวิชาชีพครูของไทย

n มาตรฐานวิชาชีพครูตามพ.ร.บ.สภาครู พ.ศ.2547 มี 3ด้าน

n 1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ

n 2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน

n 3. มาตรฐานการปฏิบัติตน


ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม

จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล

โดย ดร. จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ



ปฐมเหตุแห่งการนำเสนอบทความนี้มาจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ) ที่ กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้มีการจัดระบบจูงใจ ให้คนทำดี ได้ดี มีรางวัลตอบแทน เป็นการพิจารณาให้ความดีความชอบของข้าราชการ ประจำปี ที่ทำงานด้านส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมของสถานศึกษา จึงต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นว่างานคุณธรรม ศีลธรรมคืออะไร และจะเกี่ยวข้องกับบุคลากร 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารโครงการ กลุ่มจัดการเรียนการสอน และกลุ่มจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

นอกจากนี้ คำว่า คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ธรรมาภิบาล และสมรรถนะ มักมีผู้นำไปใช้ในความหมายที่แตกต่าง สับสน และไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริง ดังนั้นการทำความเข้าใจตั้งแต่ รากศัพท์ ความหมายและประโยชน์ในการนำไปใช้ จะช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้ดี

เป้าหมายปลายทาง

คุณธรรม (Moral) ศีลธรรม (Moral) จริยธรรม (Ethics)และ จรรยาบรรณ (Code of Conduct)มีเป้าหมายใช้เพื่อการควบคุมตนเอง และส่งผลต่อ พฤติกรรมของบุคคลนั้น ส่วนธรรมาภิบาล (Good Governance) และ ขีดสมรรถนะ (Competency) ใช้เพื่อเป็นกลไกควบคุม โครงสร้าง ระบบ และกระบวนการส่งผลต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กร

คุณธรรม (Moral / Virtue)

“คุณธรรม” คือ คุณ + ธรรมะ คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ

สังคม ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี

คุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี

1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ

2. คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น



จริยธรรม (Ethics)



“จริยธรรม” = จริย + ธรรมะ คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง

ก่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ

จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม

1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร

3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม

ศีลธรรม (Moral)



1. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ

2. หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ



“ธรรมาภิบาล” (Good Governance)

ธรรมาภิบาล คือ ธรรมะ + อภิบาล หมายถึง ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน

สัญญา (กฎ กติกา มารยาท) ที่ ร่วมกันทำ เป็นธรรม โปร่งใส รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ

การจัดการปกครอง การบริหารปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System) ซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate)
ธรรมาภิบาล มักครอบคลุมประเด็น ดังนี้
- การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation)

- นิติธรรม (Rule of law)

- ความโปร่งใส (Transparency)

- การตอบสนอง (Responsiveness)

- การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented)

- ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity)

- ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)

- ภาระรับผิดชอบ (Accountability

ทศพิธราชธรรม (Virtues of the King)

จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน

ทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ข้อ มีดังนี้

- ทาน คือ การให้ การเสียสละ การให้น้ำใจ

- ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ

- บริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม

- ความซื่อตรง คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต

- ความอ่อนโยน คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส

- ความเพียร คือ ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน

- ความไม่โกรธ คือ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล

- ความไม่เบียดเบียน คือ การไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

- ความอดทน คือ การรักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย การอดทนต่อสิ่งทั้งปวง

- ความยุติธรรม คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก





จรรยาบรรณ (Codes of Conduct) (Professional Ethics)

จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม

1. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

2. หลักความประพฤติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ

จรรยาบรรณวิชาชีพ (Code of Ethics )

n จรรยาบรรณเกิดขึ้นเพื่อ *มุ่งให้คนในวิชาชีพมีประสิทธิภาพ* ให้เป็นคนดีในการบริการวิชาชีพ
*ให้คนในวิชาชีพมีเกียรติศักดิ์ศรีที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ

n จรรยาบรรณ มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกอาชีพ ทุกสถาบัน และหน่วยงาน เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติ ปฏิบัติด้วยความดีงาม

จรรยาบรรณวิชาชีพครู(Code of Ethics of Teaching Profession)

ความหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ

n ความสำคัญจรรยาบรรณวิชาชีพครูจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ ๓ ประการ คือ

n ๑. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ

n ๒. รักษามาตรฐานวิชาชีพ

n ๓. พัฒนาวิชาชีพ

แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539

n ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

n ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

n ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

n ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์

n ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

n ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ

n ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

n ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

n ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย



จรรยาบรรณนักเรียนนักศึกษา 10ประการ

*พึงหาโอกาสเรียนรู้ ให้เข้าใจใช้เหตุผลโดยเร็วที่สุดตามระดับวัย

*พึงรับทุกอย่างด้วยเหตุผล พึงรับพิจารณาความคิดอย่างมีเหตุผลถึงแม้จะยังไม่เห็นด้วย เคารพความคิดผู้อื่นโดยยึดถือการประนีประนอม และหาทางสายกลาง

* การเรียนไม่ใช่เป็นการกอบโกย เอาเปรียบผู้อื่น

* ให้ถือว่าสังคมโรงเรียน/สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริง

*สร้างสังคมในโรงเรียน/สถาบันการศึกษา ในอุดมการณ์ปรับปรุงให้ทันสมัยทันเหตุการณ์เสมอ

*สุจริตในการทำการบ้านและในการสอบ

*ถือว่าเกียรติอยู่เหนือผลประโยชน์ใดๆ

* ฝึกน้ำใจนักกีฬาในการแข่งขันทุกประเภท

*ให้เกียรติคอาจารย์รูและเพื่อนเสมอ

* ถือว่าสิทธิจะต้องแลกเปลี่ยนกับหน้าที่และความรับผิดชอบเสมอ



ขีดสมรรถนะ (Competency)

ขีดสมรรถนะ คือ ความรู้และทักษะที่จำเป็นขั้นพื้นฐานของการปฎิบัติงานหนึ่งๆ

ขีดสมรรถนะ ที่มีความจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่

n เข้าใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

n คิด/วิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม (วางแผนผังเชิงยุทธศาสตร์และมีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน/วัดผลงานได้)

n สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างบรรลุผล และบริหารการเปลี่ยนแปลงได้

n ป้องกัน/ควบคุมความเสี่ยง

n มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการทำงาน

n มีจริยธรรมและความซื่อสัตย์

สมรรถนะงานสายงานวิชาชีพครูของไทย

n มาตรฐานวิชาชีพครูตามพ.ร.บ.สภาครู พ.ศ.2547 มี 3ด้าน

n 1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ

n 2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม

จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล

โดย ดร. จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ



ปฐมเหตุแห่งการนำเสนอบทความนี้มาจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ) ที่ กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้มีการจัดระบบจูงใจ ให้คนทำดี ได้ดี มีรางวัลตอบแทน เป็นการพิจารณาให้ความดีความชอบของข้าราชการ ประจำปี ที่ทำงานด้านส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมของสถานศึกษา จึงต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นว่างานคุณธรรม ศีลธรรมคืออะไร และจะเกี่ยวข้องกับบุคลากร 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารโครงการ กลุ่มจัดการเรียนการสอน และกลุ่มจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

นอกจากนี้ คำว่า คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ธรรมาภิบาล และสมรรถนะ มักมีผู้นำไปใช้ในความหมายที่แตกต่าง สับสน และไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริง ดังนั้นการทำความเข้าใจตั้งแต่ รากศัพท์ ความหมายและประโยชน์ในการนำไปใช้ จะช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้ดี

เป้าหมายปลายทาง

คุณธรรม (Moral) ศีลธรรม (Moral) จริยธรรม (Ethics)และ จรรยาบรรณ (Code of Conduct)มีเป้าหมายใช้เพื่อการควบคุมตนเอง และส่งผลต่อ พฤติกรรมของบุคคลนั้น ส่วนธรรมาภิบาล (Good Governance) และ ขีดสมรรถนะ (Competency) ใช้เพื่อเป็นกลไกควบคุม โครงสร้าง ระบบ และกระบวนการส่งผลต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กร

คุณธรรม (Moral / Virtue)

“คุณธรรม” คือ คุณ + ธรรมะ คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ

สังคม ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี

คุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี

1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ

2. คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น



จริยธรรม (Ethics)



“จริยธรรม” = จริย + ธรรมะ คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง

ก่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ

จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม

1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร

3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม

ศีลธรรม (Moral)



1. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ

2. หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ



“ธรรมาภิบาล” (Good Governance)

ธรรมาภิบาล คือ ธรรมะ + อภิบาล หมายถึง ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน

สัญญา (กฎ กติกา มารยาท) ที่ ร่วมกันทำ เป็นธรรม โปร่งใส รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ

การจัดการปกครอง การบริหารปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System) ซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate)
ธรรมาภิบาล มักครอบคลุมประเด็น ดังนี้
- การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation)

- นิติธรรม (Rule of law)

- ความโปร่งใส (Transparency)

- การตอบสนอง (Responsiveness)

- การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented)

- ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity)

- ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)

- ภาระรับผิดชอบ (Accountability

ทศพิธราชธรรม (Virtues of the King)

จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน

ทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ข้อ มีดังนี้

- ทาน คือ การให้ การเสียสละ การให้น้ำใจ

- ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ

- บริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม

- ความซื่อตรง คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต

- ความอ่อนโยน คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส

- ความเพียร คือ ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน

- ความไม่โกรธ คือ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล

- ความไม่เบียดเบียน คือ การไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

- ความอดทน คือ การรักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย การอดทนต่อสิ่งทั้งปวง

- ความยุติธรรม คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก





จรรยาบรรณ (Codes of Conduct) (Professional Ethics)

จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม

1. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

2. หลักความประพฤติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ

จรรยาบรรณวิชาชีพ (Code of Ethics )

n จรรยาบรรณเกิดขึ้นเพื่อ *มุ่งให้คนในวิชาชีพมีประสิทธิภาพ* ให้เป็นคนดีในการบริการวิชาชีพ
*ให้คนในวิชาชีพมีเกียรติศักดิ์ศรีที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ

n จรรยาบรรณ มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกอาชีพ ทุกสถาบัน และหน่วยงาน เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติ ปฏิบัติด้วยความดีงาม

จรรยาบรรณวิชาชีพครู(Code of Ethics of Teaching Profession)

ความหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ

n ความสำคัญจรรยาบรรณวิชาชีพครูจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ ๓ ประการ คือ

n ๑. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ

n ๒. รักษามาตรฐานวิชาชีพ

n ๓. พัฒนาวิชาชีพ

แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539

n ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

n ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

n ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

n ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์

n ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

n ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ

n ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

n ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

n ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย



จรรยาบรรณนักเรียนนักศึกษา 10ประการ

*พึงหาโอกาสเรียนรู้ ให้เข้าใจใช้เหตุผลโดยเร็วที่สุดตามระดับวัย

*พึงรับทุกอย่างด้วยเหตุผล พึงรับพิจารณาความคิดอย่างมีเหตุผลถึงแม้จะยังไม่เห็นด้วย เคารพความคิดผู้อื่นโดยยึดถือการประนีประนอม และหาทางสายกลาง

* การเรียนไม่ใช่เป็นการกอบโกย เอาเปรียบผู้อื่น

* ให้ถือว่าสังคมโรงเรียน/สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริง

*สร้างสังคมในโรงเรียน/สถาบันการศึกษา ในอุดมการณ์ปรับปรุงให้ทันสมัยทันเหตุการณ์เสมอ

*สุจริตในการทำการบ้านและในการสอบ

*ถือว่าเกียรติอยู่เหนือผลประโยชน์ใดๆ

* ฝึกน้ำใจนักกีฬาในการแข่งขันทุกประเภท

*ให้เกียรติคอาจารย์รูและเพื่อนเสมอ

* ถือว่าสิทธิจะต้องแลกเปลี่ยนกับหน้าที่และความรับผิดชอบเสมอ



ขีดสมรรถนะ (Competency)

ขีดสมรรถนะ คือ ความรู้และทักษะที่จำเป็นขั้นพื้นฐานของการปฎิบัติงานหนึ่งๆ

ขีดสมรรถนะ ที่มีความจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่

n เข้าใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

n คิด/วิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม (วางแผนผังเชิงยุทธศาสตร์และมีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน/วัดผลงานได้)

n สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างบรรลุผล และบริหารการเปลี่ยนแปลงได้

n ป้องกัน/ควบคุมความเสี่ยง

n มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการทำงาน

n มีจริยธรรมและความซื่อสัตย์

สมรรถนะงานสายงานวิชาชีพครูของไทย

n มาตรฐานวิชาชีพครูตามพ.ร.บ.สภาครู พ.ศ.2547 มี 3ด้าน

n 1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ

n 2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน

n 3. มาตรฐานการปฏิบัติตน

http://www.charuaypontorranin.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5375831&Ntype=6

n 3. มาตรฐานการปฏิบัติตน
ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม

จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล

โดย ดร. จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ



ปฐมเหตุแห่งการนำเสนอบทความนี้มาจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ) ที่ กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้มีการจัดระบบจูงใจ ให้คนทำดี ได้ดี มีรางวัลตอบแทน เป็นการพิจารณาให้ความดีความชอบของข้าราชการ ประจำปี ที่ทำงานด้านส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมของสถานศึกษา จึงต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นว่างานคุณธรรม ศีลธรรมคืออะไร และจะเกี่ยวข้องกับบุคลากร 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารโครงการ กลุ่มจัดการเรียนการสอน และกลุ่มจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

นอกจากนี้ คำว่า คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ธรรมาภิบาล และสมรรถนะ มักมีผู้นำไปใช้ในความหมายที่แตกต่าง สับสน และไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริง ดังนั้นการทำความเข้าใจตั้งแต่ รากศัพท์ ความหมายและประโยชน์ในการนำไปใช้ จะช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้ดี

เป้าหมายปลายทาง

คุณธรรม (Moral) ศีลธรรม (Moral) จริยธรรม (Ethics)และ จรรยาบรรณ (Code of Conduct)มีเป้าหมายใช้เพื่อการควบคุมตนเอง และส่งผลต่อ พฤติกรรมของบุคคลนั้น ส่วนธรรมาภิบาล (Good Governance) และ ขีดสมรรถนะ (Competency) ใช้เพื่อเป็นกลไกควบคุม โครงสร้าง ระบบ และกระบวนการส่งผลต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กร

คุณธรรม (Moral / Virtue)

“คุณธรรม” คือ คุณ + ธรรมะ คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ

สังคม ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี

คุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี

1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ

2. คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น



จริยธรรม (Ethics)



“จริยธรรม” = จริย + ธรรมะ คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง

ก่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ

จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม

1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร

3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม

ศีลธรรม (Moral)



1. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ

2. หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ



“ธรรมาภิบาล” (Good Governance)

ธรรมาภิบาล คือ ธรรมะ + อภิบาล หมายถึง ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน

สัญญา (กฎ กติกา มารยาท) ที่ ร่วมกันทำ เป็นธรรม โปร่งใส รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ

การจัดการปกครอง การบริหารปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System) ซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate)
ธรรมาภิบาล มักครอบคลุมประเด็น ดังนี้
- การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation)

- นิติธรรม (Rule of law)

- ความโปร่งใส (Transparency)

- การตอบสนอง (Responsiveness)

- การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented)

- ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity)

- ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)

- ภาระรับผิดชอบ (Accountability

ทศพิธราชธรรม (Virtues of the King)

จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน

ทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ข้อ มีดังนี้

- ทาน คือ การให้ การเสียสละ การให้น้ำใจ

- ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ

- บริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม

- ความซื่อตรง คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต

- ความอ่อนโยน คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส

- ความเพียร คือ ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน

- ความไม่โกรธ คือ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล

- ความไม่เบียดเบียน คือ การไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

- ความอดทน คือ การรักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย การอดทนต่อสิ่งทั้งปวง

- ความยุติธรรม คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก





จรรยาบรรณ (Codes of Conduct) (Professional Ethics)

จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม

1. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

2. หลักความประพฤติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ

จรรยาบรรณวิชาชีพ (Code of Ethics )

n จรรยาบรรณเกิดขึ้นเพื่อ *มุ่งให้คนในวิชาชีพมีประสิทธิภาพ* ให้เป็นคนดีในการบริการวิชาชีพ
*ให้คนในวิชาชีพมีเกียรติศักดิ์ศรีที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ

n จรรยาบรรณ มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกอาชีพ ทุกสถาบัน และหน่วยงาน เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติ ปฏิบัติด้วยความดีงาม

จรรยาบรรณวิชาชีพครู(Code of Ethics of Teaching Profession)

ความหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ

n ความสำคัญจรรยาบรรณวิชาชีพครูจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ ๓ ประการ คือ

n ๑. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ

n ๒. รักษามาตรฐานวิชาชีพ

n ๓. พัฒนาวิชาชีพ

แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539

n ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

n ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

n ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

n ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์

n ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

n ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ

n ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

n ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

n ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย



จรรยาบรรณนักเรียนนักศึกษา 10ประการ

*พึงหาโอกาสเรียนรู้ ให้เข้าใจใช้เหตุผลโดยเร็วที่สุดตามระดับวัย

*พึงรับทุกอย่างด้วยเหตุผล พึงรับพิจารณาความคิดอย่างมีเหตุผลถึงแม้จะยังไม่เห็นด้วย เคารพความคิดผู้อื่นโดยยึดถือการประนีประนอม และหาทางสายกลาง

* การเรียนไม่ใช่เป็นการกอบโกย เอาเปรียบผู้อื่น

* ให้ถือว่าสังคมโรงเรียน/สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริง

*สร้างสังคมในโรงเรียน/สถาบันการศึกษา ในอุดมการณ์ปรับปรุงให้ทันสมัยทันเหตุการณ์เสมอ

*สุจริตในการทำการบ้านและในการสอบ

*ถือว่าเกียรติอยู่เหนือผลประโยชน์ใดๆ

* ฝึกน้ำใจนักกีฬาในการแข่งขันทุกประเภท

*ให้เกียรติคอาจารย์รูและเพื่อนเสมอ

* ถือว่าสิทธิจะต้องแลกเปลี่ยนกับหน้าที่และความรับผิดชอบเสมอ



ขีดสมรรถนะ (Competency)

ขีดสมรรถนะ คือ ความรู้และทักษะที่จำเป็นขั้นพื้นฐานของการปฎิบัติงานหนึ่งๆ

ขีดสมรรถนะ ที่มีความจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่

n เข้าใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

n คิด/วิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม (วางแผนผังเชิงยุทธศาสตร์และมีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน/วัดผลงานได้)

n สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างบรรลุผล และบริหารการเปลี่ยนแปลงได้

n ป้องกัน/ควบคุมความเสี่ยง

n มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการทำงาน

n มีจริยธรรมและความซื่อสัตย์

สมรรถนะงานสายงานวิชาชีพครูของไทย

n มาตรฐานวิชาชีพครูตามพ.ร.บ.สภาครู พ.ศ.2547 มี 3ด้าน

n 1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ

n 2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน

n 3. มาตรฐานการปฏิบัติตน


ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม

จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล

โดย ดร. จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ



ปฐมเหตุแห่งการนำเสนอบทความนี้มาจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ) ที่ กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้มีการจัดระบบจูงใจ ให้คนทำดี ได้ดี มีรางวัลตอบแทน เป็นการพิจารณาให้ความดีความชอบของข้าราชการ ประจำปี ที่ทำงานด้านส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมของสถานศึกษา จึงต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นว่างานคุณธรรม ศีลธรรมคืออะไร และจะเกี่ยวข้องกับบุคลากร 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารโครงการ กลุ่มจัดการเรียนการสอน และกลุ่มจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

นอกจากนี้ คำว่า คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ธรรมาภิบาล และสมรรถนะ มักมีผู้นำไปใช้ในความหมายที่แตกต่าง สับสน และไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริง ดังนั้นการทำความเข้าใจตั้งแต่ รากศัพท์ ความหมายและประโยชน์ในการนำไปใช้ จะช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้ดี

เป้าหมายปลายทาง

คุณธรรม (Moral) ศีลธรรม (Moral) จริยธรรม (Ethics)และ จรรยาบรรณ (Code of Conduct)มีเป้าหมายใช้เพื่อการควบคุมตนเอง และส่งผลต่อ พฤติกรรมของบุคคลนั้น ส่วนธรรมาภิบาล (Good Governance) และ ขีดสมรรถนะ (Competency) ใช้เพื่อเป็นกลไกควบคุม โครงสร้าง ระบบ และกระบวนการส่งผลต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กร

คุณธรรม (Moral / Virtue)

“คุณธรรม” คือ คุณ + ธรรมะ คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ

สังคม ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี

คุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี

1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ

2. คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น



จริยธรรม (Ethics)



“จริยธรรม” = จริย + ธรรมะ คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง

ก่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ

จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม

1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร

3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม

ศีลธรรม (Moral)



1. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ

2. หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ



“ธรรมาภิบาล” (Good Governance)

ธรรมาภิบาล คือ ธรรมะ + อภิบาล หมายถึง ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน

สัญญา (กฎ กติกา มารยาท) ที่ ร่วมกันทำ เป็นธรรม โปร่งใส รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ

การจัดการปกครอง การบริหารปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System) ซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate)
ธรรมาภิบาล มักครอบคลุมประเด็น ดังนี้
- การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation)

- นิติธรรม (Rule of law)

- ความโปร่งใส (Transparency)

- การตอบสนอง (Responsiveness)

- การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented)

- ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity)

- ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)

- ภาระรับผิดชอบ (Accountability

ทศพิธราชธรรม (Virtues of the King)

จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน

ทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ข้อ มีดังนี้

- ทาน คือ การให้ การเสียสละ การให้น้ำใจ

- ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ

- บริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม

- ความซื่อตรง คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต

- ความอ่อนโยน คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส

- ความเพียร คือ ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน

- ความไม่โกรธ คือ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล

- ความไม่เบียดเบียน คือ การไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

- ความอดทน คือ การรักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย การอดทนต่อสิ่งทั้งปวง

- ความยุติธรรม คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก





จรรยาบรรณ (Codes of Conduct) (Professional Ethics)

จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม

1. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

2. หลักความประพฤติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ

จรรยาบรรณวิชาชีพ (Code of Ethics )

n จรรยาบรรณเกิดขึ้นเพื่อ *มุ่งให้คนในวิชาชีพมีประสิทธิภาพ* ให้เป็นคนดีในการบริการวิชาชีพ
*ให้คนในวิชาชีพมีเกียรติศักดิ์ศรีที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ

n จรรยาบรรณ มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกอาชีพ ทุกสถาบัน และหน่วยงาน เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติ ปฏิบัติด้วยความดีงาม

จรรยาบรรณวิชาชีพครู(Code of Ethics of Teaching Profession)

ความหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ

n ความสำคัญจรรยาบรรณวิชาชีพครูจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ ๓ ประการ คือ

n ๑. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ

n ๒. รักษามาตรฐานวิชาชีพ

n ๓. พัฒนาวิชาชีพ

แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539

n ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

n ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

n ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

n ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์

n ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

n ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ

n ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

n ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

n ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย



จรรยาบรรณนักเรียนนักศึกษา 10ประการ

*พึงหาโอกาสเรียนรู้ ให้เข้าใจใช้เหตุผลโดยเร็วที่สุดตามระดับวัย

*พึงรับทุกอย่างด้วยเหตุผล พึงรับพิจารณาความคิดอย่างมีเหตุผลถึงแม้จะยังไม่เห็นด้วย เคารพความคิดผู้อื่นโดยยึดถือการประนีประนอม และหาทางสายกลาง

* การเรียนไม่ใช่เป็นการกอบโกย เอาเปรียบผู้อื่น

* ให้ถือว่าสังคมโรงเรียน/สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริง

*สร้างสังคมในโรงเรียน/สถาบันการศึกษา ในอุดมการณ์ปรับปรุงให้ทันสมัยทันเหตุการณ์เสมอ

*สุจริตในการทำการบ้านและในการสอบ

*ถือว่าเกียรติอยู่เหนือผลประโยชน์ใดๆ

* ฝึกน้ำใจนักกีฬาในการแข่งขันทุกประเภท

*ให้เกียรติคอาจารย์รูและเพื่อนเสมอ

* ถือว่าสิทธิจะต้องแลกเปลี่ยนกับหน้าที่และความรับผิดชอบเสมอ



ขีดสมรรถนะ (Competency)

ขีดสมรรถนะ คือ ความรู้และทักษะที่จำเป็นขั้นพื้นฐานของการปฎิบัติงานหนึ่งๆ

ขีดสมรรถนะ ที่มีความจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่

n เข้าใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

n คิด/วิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม (วางแผนผังเชิงยุทธศาสตร์และมีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน/วัดผลงานได้)

n สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างบรรลุผล และบริหารการเปลี่ยนแปลงได้

n ป้องกัน/ควบคุมความเสี่ยง

n มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการทำงาน

n มีจริยธรรมและความซื่อสัตย์

สมรรถนะงานสายงานวิชาชีพครูของไทย

n มาตรฐานวิชาชีพครูตามพ.ร.บ.สภาครู พ.ศ.2547 มี 3ด้าน

n 1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ

n 2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม

จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล

โดย ดร. จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ



ปฐมเหตุแห่งการนำเสนอบทความนี้มาจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ) ที่ กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้มีการจัดระบบจูงใจ ให้คนทำดี ได้ดี มีรางวัลตอบแทน เป็นการพิจารณาให้ความดีความชอบของข้าราชการ ประจำปี ที่ทำงานด้านส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมของสถานศึกษา จึงต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นว่างานคุณธรรม ศีลธรรมคืออะไร และจะเกี่ยวข้องกับบุคลากร 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารโครงการ กลุ่มจัดการเรียนการสอน และกลุ่มจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

นอกจากนี้ คำว่า คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ธรรมาภิบาล และสมรรถนะ มักมีผู้นำไปใช้ในความหมายที่แตกต่าง สับสน และไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริง ดังนั้นการทำความเข้าใจตั้งแต่ รากศัพท์ ความหมายและประโยชน์ในการนำไปใช้ จะช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้ดี

เป้าหมายปลายทาง

คุณธรรม (Moral) ศีลธรรม (Moral) จริยธรรม (Ethics)และ จรรยาบรรณ (Code of Conduct)มีเป้าหมายใช้เพื่อการควบคุมตนเอง และส่งผลต่อ พฤติกรรมของบุคคลนั้น ส่วนธรรมาภิบาล (Good Governance) และ ขีดสมรรถนะ (Competency) ใช้เพื่อเป็นกลไกควบคุม โครงสร้าง ระบบ และกระบวนการส่งผลต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กร

คุณธรรม (Moral / Virtue)

“คุณธรรม” คือ คุณ + ธรรมะ คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ

สังคม ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี

คุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี

1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ

2. คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น



จริยธรรม (Ethics)



“จริยธรรม” = จริย + ธรรมะ คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง

ก่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ

จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม

1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร

3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม

ศีลธรรม (Moral)



1. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ

2. หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ



“ธรรมาภิบาล” (Good Governance)

ธรรมาภิบาล คือ ธรรมะ + อภิบาล หมายถึง ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน

สัญญา (กฎ กติกา มารยาท) ที่ ร่วมกันทำ เป็นธรรม โปร่งใส รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ

การจัดการปกครอง การบริหารปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System) ซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate)
ธรรมาภิบาล มักครอบคลุมประเด็น ดังนี้
- การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation)

- นิติธรรม (Rule of law)

- ความโปร่งใส (Transparency)

- การตอบสนอง (Responsiveness)

- การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented)

- ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity)

- ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)

- ภาระรับผิดชอบ (Accountability

ทศพิธราชธรรม (Virtues of the King)

จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน

ทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ข้อ มีดังนี้

- ทาน คือ การให้ การเสียสละ การให้น้ำใจ

- ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ

- บริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม

- ความซื่อตรง คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต

- ความอ่อนโยน คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส

- ความเพียร คือ ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน

- ความไม่โกรธ คือ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล

- ความไม่เบียดเบียน คือ การไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

- ความอดทน คือ การรักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย การอดทนต่อสิ่งทั้งปวง

- ความยุติธรรม คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก





จรรยาบรรณ (Codes of Conduct) (Professional Ethics)

จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม

1. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

2. หลักความประพฤติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ

จรรยาบรรณวิชาชีพ (Code of Ethics )

n จรรยาบรรณเกิดขึ้นเพื่อ *มุ่งให้คนในวิชาชีพมีประสิทธิภาพ* ให้เป็นคนดีในการบริการวิชาชีพ
*ให้คนในวิชาชีพมีเกียรติศักดิ์ศรีที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ

n จรรยาบรรณ มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกอาชีพ ทุกสถาบัน และหน่วยงาน เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติ ปฏิบัติด้วยความดีงาม

จรรยาบรรณวิชาชีพครู(Code of Ethics of Teaching Profession)

ความหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ

n ความสำคัญจรรยาบรรณวิชาชีพครูจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ ๓ ประการ คือ

n ๑. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ

n ๒. รักษามาตรฐานวิชาชีพ

n ๓. พัฒนาวิชาชีพ

แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539

n ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

n ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

n ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

n ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์

n ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

n ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ

n ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

n ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

n ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย



จรรยาบรรณนักเรียนนักศึกษา 10ประการ

*พึงหาโอกาสเรียนรู้ ให้เข้าใจใช้เหตุผลโดยเร็วที่สุดตามระดับวัย

*พึงรับทุกอย่างด้วยเหตุผล พึงรับพิจารณาความคิดอย่างมีเหตุผลถึงแม้จะยังไม่เห็นด้วย เคารพความคิดผู้อื่นโดยยึดถือการประนีประนอม และหาทางสายกลาง

* การเรียนไม่ใช่เป็นการกอบโกย เอาเปรียบผู้อื่น

* ให้ถือว่าสังคมโรงเรียน/สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริง

*สร้างสังคมในโรงเรียน/สถาบันการศึกษา ในอุดมการณ์ปรับปรุงให้ทันสมัยทันเหตุการณ์เสมอ

*สุจริตในการทำการบ้านและในการสอบ

*ถือว่าเกียรติอยู่เหนือผลประโยชน์ใดๆ

* ฝึกน้ำใจนักกีฬาในการแข่งขันทุกประเภท

*ให้เกียรติคอาจารย์รูและเพื่อนเสมอ

* ถือว่าสิทธิจะต้องแลกเปลี่ยนกับหน้าที่และความรับผิดชอบเสมอ



ขีดสมรรถนะ (Competency)

ขีดสมรรถนะ คือ ความรู้และทักษะที่จำเป็นขั้นพื้นฐานของการปฎิบัติงานหนึ่งๆ

ขีดสมรรถนะ ที่มีความจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่

n เข้าใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

n คิด/วิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม (วางแผนผังเชิงยุทธศาสตร์และมีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน/วัดผลงานได้)

n สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างบรรลุผล และบริหารการเปลี่ยนแปลงได้

n ป้องกัน/ควบคุมความเสี่ยง

n มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการทำงาน

n มีจริยธรรมและความซื่อสัตย์

สมรรถนะงานสายงานวิชาชีพครูของไทย

n มาตรฐานวิชาชีพครูตามพ.ร.บ.สภาครู พ.ศ.2547 มี 3ด้าน

n 1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ

n 2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน

n 3. มาตรฐานการปฏิบัติตน

http://www.charuaypontorranin.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5375831&Ntype=6

n 3. มาตรฐานการปฏิบัติตน